mod_mslideshows

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร          ...
More
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New Product จากเวที GRB Innovation Awards 2022 ติดต่อกัน 3 ปี

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New...

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a...
More
เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน ครองมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...
More
AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022      ...
More
SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท ‘ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย’

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...
More
ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง...
More
COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน           บริษัท...
More
กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit...
More
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK GROUP) เยี่ยมชมระบบเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ 24 ชั่วโมง

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...
More
มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ มอบเงินบริจาคแก่ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...
More
FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’...
More
เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ สร้างโอกาสทางความรู้ที่เท่าเทียมในองค์กร

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...
More
อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’          ...
More
รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่      ...
More
SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE           คุณอำนวย จิรมหาโภคา...
More
บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story        ...
More
‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ ชวนลุ้นรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...
More
BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565        ...
More
ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่...
More
เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน    ...
More

'นักวิชาการ'ส่อง 4 ข้อ ทิศทาง 'ร่างรธน.ใหม่'


วิโรจน์ อาลี - จรัญ มะลูลีม

 


ยุทธพร อิสรชัย - ธนพร ศรียากูล

     มติชนออนไลน์ : หมายเหตุ - นักวิชาการให้ความเห็นกรณีที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอแนวทาง 4 ข้อ ที่เป็นภาพทิศทางร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วย 1.สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ (เพิ่มการมีส่วนร่วม) 2.การเมืองใสสะอาดและสมดุล (ป้องกันทุจริต/ให้มีความสมดุล) 3.หนุนสังคมที่เป็นธรรม (ปฏิรูป) 4.นำชาติสู่สันติสุข (ปรองดอง)

วิโรจน์ อาลี

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข้อ 1 สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ ในเชิงหลักการถูกต้องที่สุด ในแง่กลไก ดูเหมือนจะไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงเท่าไร การให้ประชาชนไปตั้งสมัชชา เปลี่ยนจากราษฎรเป็นพลเมือง จริงๆ แล้วกลับกันเลย ทำให้พลเมืองกลับไปเป็นราษฎรมากกว่า 

ตามหลักการประชาธิปไตย คือจะทำอย่างไรที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางตรงในทางการเมืองมากที่สุด ไม่ใช่ตั้งองค์กรทำหน้าที่แทนประชาชน พยายามให้อำนาจกับระบบราชการเข้ามาจัดการมากกว่า มีกับดักตัวนี้เต็มไปหมดเลย แม้เชิงหลักการจะดูดี แต่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงเลย

วิธีคิดของระบอบประชาธิปไตย คือทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนมีต้นทุนเข้ามาเล่นการเมืองเองได้น้อยที่สุด รอบนี้ไม่ได้ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นสำหรับประชาชนเลย เราจะเปลี่ยนจากพลเมืองที่เดิมมีอยู่และถูกทำลายไปกับการปฏิวัติ ให้กลับกลายไปเป็นราษฎรมากกว่า ในแง่ปฏิบัติที่จะออกมาในรัฐธรรมนูญฉบับนี้สวนทางกับสิ่งที่พูดหมด

ข้อ 2 การเมืองใสสะอาดและสมดุล ระบบสัดส่วนผสมเปิดโอกาสให้พรรคเล็กๆ มีสิทธิมีเสียงมากขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่เรื่องอื่นๆ สมดุลแค่ไหน สร้างสมัชชาคุณธรรมขึ้นมา เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อจะชี้ว่าใครดีใครไม่ดีเท่านั้นเอง วิธีการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นคือการออกแบบกฎหมายให้รัดกุม ควรลดการใช้ดุลพินิจ ลดการตีความ มีกระบวนการที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบเรื่องคอร์รัปชั่น

วิธีคิดเรื่องสมดุล จะสมดุลอย่างไร จะเอาคนดีไปสมดุลกับประชาชนเหรอ หรือเอาระบอบเผด็จการไปสมดุลกับประชาธิปไตยไหม ถามว่าคนชายขอบเท่านั้นเหรอที่จะรู้เรื่องคนชายขอบ คนทั้งประเทศไม่สามารถคิดปัญหาที่เป็นส่วนรวมได้เหรอ จริงเหรอที่คนส่วนมากไม่เห็นปัญหาคนชายขอบ

ข้อ 3 หนุนสังคมที่เป็นธรรม ถ้าทำได้ก็ดี ฟังดูดี แต่ต้องดูเรื่องรายละเอียดว่าคุณรับฟังเสียงคนข้างมากจริงไหม ถ้ากระบวนการเปิดช่องก็จะเป็นไปอย่างยุติธรรม แต่ถ้าไปให้น้ำหนักสมดุลอย่างที่ว่าก็จะทำให้เสียงที่มีในสังคมถูกกดทับไปเรื่อยๆ สังคมที่ต้องการทำให้เกิดความเป็นธรรมก็อาจไม่เกิด 

เรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ จะไปโยงกับเรื่องวินัยการคลัง ปัญหาคือนโยบายบางอย่างที่ถูกตีว่าเป็นประชานิยมแล้วไม่ควรเอามาใช้ จะลดความเหลื่อมล้ำ ใครเป็นคนตัดสินว่าเหลื่อมล้ำ ถ้าไม่ใช่ตัวแทนของเขา ถ้าคุณบอกว่าตัวแทนของเขาเป็นประชานิยมแล้วเอาใครไม่รู้มาตัดสินว่านโยบายแบบไหนดีหรือไม่ดี ก็จะมีปัญหาว่าอาจเป็นการเอาอคติของคนกลุ่มน้อยมาใช้ แล้วไม่สามารถแก้ไขความเหลื่อมล้ำได้

ทำอย่างไรที่จะทำให้ระบบที่มาตามกรอบความคิดนี้สามารถที่จะฟังเสียงของประชาชนแล้วนำไปสู่ข้อสรุปเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์สูงสุด 

ข้อ 4 นำชาติสู่สันติสุข (ปรองดอง) ตอนแรกรัฐบาลทำทุกอย่างให้นิ่ง มีความหวังว่าถ้านำทุกฝ่ายเข้ามาพูดคุยกันจริงจัง น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่สุดท้ายทุกคนบอกว่าไม่เกี่ยว ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง ลอยตัวหมด แล้วบอกว่าฝั่งประชาชนอีกฝั่งหนึ่งไม่ยอมปรองดอง 

ฉะนั้นวิธีการปรองดองต้องนำทุกคนมานั่งคุยกัน ที่ผ่านมากระบวนการปรองดองควรทำกรอบแล้วสะท้อนไปสู่การปฏิรูปการเมืองหรือการเขียนรัฐธรรมนูญ เมื่อกระบวนนั้นไม่เกิดขึ้นแล้วจะคาดหวังว่าปรองดองได้ไหม ก็คงยากมาก

ถ้าดูภาพรวม เห็นด้วยในเชิงหลักการ ทุกอย่างที่พูดใช่หมด แต่ในแง่ปฏิบัติการทุกอย่างสวนทางไปซะหมดเลย หลักการ 4 ข้อในรายละเอียดที่ผ่านมา สิ่งที่พูดมากับสิ่งที่พวกคุณทำกันเองไม่ได้สอดคล้องสักอย่าง

จรัญ มะลูลีม

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ถ้าทำได้ก็ยูโทเปียเลยนะ ความคิดที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นความคิดที่ดีเสมอ เพราะประชาชนคือผู้ที่มีส่วนร่วมสำคัญของประเทศอยู่แล้ว ในส่วนของนักการเมืองนั้น อยากให้เผื่อไว้สักนิดว่า นักการเมืองทุกคนไม่ใช่ว่าจะมีความเลวร้าย หรือต้องมองไปในทางที่ว่าเขาเหล่านั้นเข้ามากอบโกยแต่เพียงอย่างเดียว 

อดีตที่ผ่านมานั้น ก็มีนักการเมืองน้ำดีมากมายที่สร้างคุณูปการแก่ประเทศมาก่อน ดังนั้น การตรวจสอบนักการเมืองก็ไม่ควรตั้งกฎเกณฑ์จนถึงขั้นที่ว่าทำให้การดำเนินงานด้านการเมืองแทบจะกระดิกตัวไม่ได้เลย โอกาสที่พวกเขาจะได้ทำอะไรให้ประชาชนอาจเต็มไปด้วยความระแวงสงสัย 

แม้ว่าในอดีตจะมีนักการเมืองที่สร้างความเลวร้ายมาแล้วก็ตาม แต่อยากจะให้มองนักการเมืองในแง่ดีด้วย เพราะเราก็ผ่านประชาธิปไตยมานาน เราได้เห็นรัฐมนตรี ได้เห็นนักการเมืองที่ช่วยกันทำให้ประเทศมีความมั่นคงต่อระบอบประชาธิปไตยมามากต่อมากแล้วเช่นเดียวกัน 

ส่วนคุณธรรมต่างๆ หรือการให้อำนาจประชาชนนั้นเป็นเรื่องดี แต่ต้องให้สมดุลที่ดีระหว่างการเมืองกับประชาชน เพราะว่าประชาชนเป็นผู้ที่เลือกนักการเมืองของพวกเขาเข้ามา พวกเขาย่อมมีวิจารณญาณเช่นกัน และเลิกดูถูกประชาชนว่าเป็นผู้ไม่รู้จักการเมืองหรือว่าไม่รู้จักใช้สิทธิของตัวเอง เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้คนเข้าใจว่าการมีส่วนร่วมคืออะไร 

ในแง่ความปรองดอง ไม่ใช่ปรองดองแค่คนในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น แต่ต้องขยาย ครอบคลุม ที่เราเห็นอยู่นี้ก็มีหลายครั้งที่แสดงให้เห็นว่า ข้อเสนอว่าด้วยการปรองดองนั้นดูเหมือนจะปรองดองกับคนกลุ่มเดียวกันมากกว่า ถ้าขยายไปได้จะเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง

ยุทธพร อิสรชัย

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การกำหนดกรอบเอาไว้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เเต่ประเด็นสำคัญคือตัวเนื้อหารัฐธรรมนูญที่ออกมาหลายอย่าง เรายังไม่เห็นเลยว่าตรงไหนที่เป็นการตอบโจทย์กรอบทั้ง 4 นั้น

บางเรื่อง เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีอยู่ในกรอบ เรายังไม่เห็นเลยว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนจะได้รับรองให้มันเกิดขึ้นในสภาพความเป็นจริงเเต่อย่างใด เพราะว่าในบทบัญญัติต่างๆ ยังไม่มีตรงไหนเลยที่เป็นหลักประกันส่วนร่วมของประชาชนอย่างจริงจัง 

ตัวอย่างเช่น เรื่อง ส.ว.ที่เขาเรียกว่ามาจากการเลือกตั้งทางอ้อม จะมาเชื่อมโยงกับประชาชนเเละสังคมอย่างไร ยังไม่เห็นภาพเลย ยังพร่ามัวอยู่เยอะในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน

หรือการกำหนดว่านายกฯเป็นคนนอกได้ ก็เป็นการทำลายหลักการสำคัญในเรื่องการพัฒนาทางการเมืองเเละการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มีพัฒนาการมาจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 ต่อเนื่องยาวนาน มันก้าวหน้ามาถึงจุดที่นายกฯต้องมาจากประชาชน การเปิดโอกาสให้คนนอกมาเป็นนายกฯได้ มันจะตอบโจทย์เรื่องเพิ่มการมีส่วนร่วมได้อย่างไร 

แม้ว่าโจทย์บางข้อที่ตั้งไว้มันอาจจะมีกลไกใหม่ๆ เพิ่มขึ้นก็จริงอยู่ เเต่ว่าการมีส่วนร่วมมันไม่ได้ทำให้ตรงนั้นได้ส่งเสริมให้กรอบทั้ง 4 ตัวมันหมุนไปพร้อมๆ กันเเต่อย่างใด 

ที่บอกว่าต้องการสร้างสมดุลระหว่างสภาผู้เเทนฯมาจากพรรคการเมืองกับวุฒิสภาพหุนิยม ก็ต้องถามว่า ส.ว.ที่จะตั้งขึ้นมานั้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไร เพราะในหลายประเทศทั่วโลกก็ไม่ได้ใช้ระบบสภาคู่เเล้ว ใช้สภาเดี่ยวกัน เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็น 

สำหรับสภาคู่ มันต้องตอบให้ได้ว่าเพื่ออะไร ถ้าต้องการให้ ส.ว.เป็นสภาตรวจสอบ ก็ต้องบอกให้ได้ว่าสภาตรวจสอบมีความเชื่อมโยงกับสังคมได้อย่างไร 

ที่จริง พัฒนาการ ส.ว.ของไทยเริ่มมาตั้งเเต่ปี 2476 ที่ต้องการให้ ส.ว.เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง ส.ส. จนกระทั่งรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เเละมีอำนาจเป็นสภาตรวจสอบ จะเห็นได้ว่ามันสมดุลกันทั้งที่มาเเละอำนาจ 

วันนี้เราบอกว่าจะให้อำนาจ ส.ว.มากขึ้น สามารถตรวจสอบประวัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจเเต่งตั้งถอดถอนผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมืองเเละองค์กรอิสระ เเต่ที่มากลับกลายเป็นว่าไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชน ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นการเสียดุลอำนาจทางการเมือง 

ฉะนั้นการมี ส.ว.เเบบนี้ต้องตอบให้ได้ว่าเชื่อมกับประชาชนอย่างไร อาจไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งทางตรงก็ได้ อาจมาจากการเลือกเป็นลำดับชั้นขึ้นมาจากชุมชนท้องถิ่น เหมือนที่มา ส.ว.ของเยอรมนี เเบบนี้จะตอบได้ว่า ส.ว.นั้นไม่ได้มีที่มาเดียวกับ ส.ส. 

ประเด็นคือ ที่มากับอำนาจหน้าที่มันต้องสมดุลกัน ถ้า ส.ว.มีอำนาจถอดถอนตัวเเทนของประชาชนที่มาจากการเลือกตั้ง ส.ว.ก็ต้องมีที่มาเชื่อมโยงกับประชาชนเหมือนกัน ไม่ใช่เชื่อมโยงกับอำนาจระบบราชการ 

เเบบนั้นจะสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้มีอำนาจเหนือข้าราชการ

ธนพร ศรียากูล

หัวหน้าพรรคคนธรรมดา

ทิศทางของร่างรัฐธรรมนูญ 4 ข้อนั้น ล้วนเป็นโมเดลรัฐธรรมนูญปี 2540 มีวัตถุประสงค์แบบเดียวกัน แทบจะไม่มีอะไรต่างออกไปเลย แต่ที่ต่างกันคงจะเป็นเพราะรัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นเชื่อในวิจารณญาณของประชาชน ไม่ต้องไปตั้งคนดีมาเป็นสมัชชาใดๆ ทั้งสิ้น แต่นำข้อพิจารณาของประชาชนทุกคนที่มีความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครดีใครเด่นไปกว่ากัน 

เพราะฉะนั้น 4 แนวทางไม่ใช่เรื่องใหม่ รัฐธรรมนูญปี 2540 เชื่อในเรื่องความเท่าเทียมกันของคน ทั้ง ส.ว. ส.ส. นายกฯ ล้วนมาจากการเลือกตั้ง นั่นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันของคน 

แต่รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างไม่เชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันของคน และจะทำให้คนรู้สึกไม่เท่าเทียมกัน เพราะคนในสังคมจะถูกแบ่งเป็น "คนดีโดยบริสุทธิ์" กับคนทั่วๆ ไป ซึ่งขัดกับหลักโดยทั่วไปที่ไม่มีใครดีโดยบริสุทธิ์ 

ส่วนที่บอกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ทำให้พรรคใหญ่ได้เปรียบ และให้ใช้ระบบสัดส่วนผสมมาใช้ อยากเรียนว่าสมมุติฐานในปี 2540 คือพรรคการเมืองไม่เข้มแข็งและไม่มีความต่อเนื่องในการบริหารงาน เพราะเป็นรัฐบาลผสม ไม่สามารถผลักดันนโยบาย

สาธารณะใดๆ ที่เป็น "ประชาธิปไตยกินได้" ได้เลย เราถึงมีรัฐธรรมนูญปี 2540 เพื่อทำให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็งในการผลิตนโยบายสาธารณะ เพื่อทำให้ประชาชนรู้สึกว่าประชาธิปไตยนั้นจับต้องได้ ตรวจสอบได้ เข้าถึงได้

แต่ไม่น่าเชื่อว่าเวลาผ่านไป 18 ปี กลับคิดว่าการมีรัฐบาลผสมเป็นสิ่งที่ดี เรากำลังละเลยบทบาทของภาคประชาชนที่แสดงออกผ่านทางการเลือกผู้แทนของเขา แต่กลับไปให้ความสำคัญกับเทคโนแครตและข้าราชการ

เสียงค้านกระหึ่ม

บทนำมติชน

     การสัญจรยกร่างรัฐธรรมนูญที่พัทยา จ.ชลบุรี ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจบลงไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถือว่ารัฐธรรมนูญได้ยกร่างเสร็จสิ้น โดยมีเหตุการณ์นางทิชา ณ นคร กรรมาธิการยกร่างฯ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติขอลาออกจากตำแหน่ง หลังจากต่อสู้ให้สตรีมีสัดส่วนในรัฐธรรมนูญไม่สำเร็จเป็นข่าวใหญ่ในวันส่งท้าย ขณะที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการฯได้สรุปเป้าหมายของรัฐธรรมนูญที่ยกร่างไว้ 4 ประเด็นคือ 1.เป้าหมายเพื่อให้พลเมืองเป็นใหญ่ 2.เป้าหมายการเมืองใสสะอาดและสมดุล 3.เป้าหมายความเป็นธรรม และ 4.เป้าหมายสู่สันติสุข

     นายบวรศักดิ์ ได้ยกตัวอย่างเนื้อหาของรัฐธรรมนูญที่กำหนดเป็นแนวทางนำไปสู่เป้าหมายทั้ง 4 เช่น กำหนดให้พลเมืองมีสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง กำหนดให้พลเมืองถอดถอนนักการเมืองได้ กำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องผ่านประชามติ ฯลฯ เป็นแนวทางที่สนองตอบต่อเป้าหมายที่ 1 พลเมืองเป็นใหญ่ ส่วนเป้าหมายใสสะอาดและสมดุลนั้น แบ่งเป็นการเมืองใสสะอาด ให้จัดตั้งสภาคุณธรรม มีกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริจ หรือการเมืองที่สมดุลก็เกิดจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้รับเลือกตั้ง และวุฒิสภาที่จะเป็นตัวแทนของกลุ่มคนที่ไม่ใช่พรรคการเมือง และไม่ได้เลือกตั้ง นอกจากนี้ ในเป้าหมายเป็นธรรมและสู่สันตินั้น รัฐธรรมนูญได้กำหนดแนวทางตามการปฏิรูป 18 ด้าน และจัดตั้งคณะกรรมาธิการปรองดองแห่งชาติขึ้นมา 

     เป้าหมายของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้รับการขานรับด้วยดี แต่แนวทางที่รัฐธรรมนูญบัญญัติกลับถูกตั้งคำถามและมีความเห็นต่างมาก ทั้งเรื่องคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี หรือที่มาและอำนาจของวุฒิสภาซึ่งแลดูไม่สมเหตุสมผล เช่น ส.ว.มาจากการเลือกทางอ้อม แต่มีอำนาจต่อฝ่ายบริหารและสภาผู้แทนราษฎรที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามา ที่สำคัญกลุ่มผู้ตั้งข้อสังเกต และไม่เห็นด้วยนั้น เป็นบุคคลที่อยู่ในกลุ่มการเมือง กลุ่มนักวิชาการ ซึ่งหลายเสียงในกลุ่มต่างๆ เคยสนับสนุนกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นี่ย่อมแสดงว่ารัฐธรรมนูญที่เพิ่งร่างเสร็จ ยังมีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจอย่างหนัก เพราะเพียงแค่นี้ กระแสเสียงไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญก็ดังกระหึ่ม ดังขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งภายในและภายนอกที่ประชุม

สภาพัฒน์ฯ สศช.

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Friday, 26 August 2022 22:01

Government-SE Matching Day สวส. จัดกิจกรรมรัฐรวมพลังจับคู่ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ดึงวิสาหกิจเพื่อสังคมร่วมออกบูธกว่า 15 องค์กร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) จัดกิจกรรม Government...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Sunday, 22 May 2022 12:47

สภาพัฒ ฯ เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Monday, 21 February 2022 18:27

สศช.GDP ไตรมาส 4 ปี 64 ขยายตัว 1.9% ​รวมทั้งปี 64 ขยายตัว 1.6% ​คาดปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5% สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP) ไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565...

สำนักนายกฯ

Saturday, 22 October 2022 20:49

ฟิทช์ เรทติ้งส์: เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ฟิทช์ เรทติ้งส์ - กรุงเทพฯ - 18 ตุลาคม 2565: ในงานสัมมนาประจำปีของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ที่จัดขึ้นในวันนี้...

Sunday, 29 May 2022 09:12

' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย ' ในการจัดเสวนา 'Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม ’ ผมมีโอกาสร่วมเสวนาหัวข้อ ' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย '...

Sunday, 22 May 2022 09:55

นายกรัฐมนตรี ปลื้ม FANC มอบใบเซอทิฟิเขท หลังเห็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล แก้ยาเสพติดแนวใหม่ รับปาก หนุนแก้อำนาจ ป.ป.ส.เป็นพนักงานสอบสวน-เพิ่มเครื่องมือ หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยา ชม ก.ยุติธรรม...

Sunday, 22 May 2022 09:47

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการติดตามผลการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยาเสพติด พร้อมรับใบเซอทิฟิเขท จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดและอาชญากรรมต่างประเทศ หรือ FANC...

Saturday, 07 May 2022 13:37

นายกฯ ติดตามงาน 'ขจัดความยากจน-พัฒนาคนทุกช่วงวัย' กำชับเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ 'พุ่งเป้า' ตรงจุด ทันเวลา และเป็นรูปธรรม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการดำเนินงาน...

Monday, 28 March 2022 17:22

บุกค้น 2 ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากออนไลน์รายใหญ่ มีสลากขายเกินราคา 6.7 ล้านฉบับ เร่งขยายผล ตัดสิทธิ ยกเลิกโควตาตัวแทนจำหน่าย-ผู้มีสิทธิซื้อจอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ...

Thursday, 24 March 2022 21:31

DGA เร่งยกระดับนวัตกรรมภาครัฐโกอินเตอร์ อวดโฉมงานวิจัยสู่เวทีสากลผ่านงาน DGTi-Con 2022 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTI-Con 2022...

สนับสนุนโดย Investing.com

สนับสนุนโดย Investing.com

โปรแกรมสรุปข้อมุลทางเทคนิคได้รับการควบคุมระบบการทำงานโดยInvesting.com ประเทศไทย

ตัวแปลงสกุลเงินนี้ควบคุมดูแลระบบทำงานโดย Investing.com ประเทศไทย

บริษัทจดทะเบียน

Wednesday, 09 August 2023 09:12

0 MTC มาตามนัด Q2/66 พอร์ตสินเชื่อแตะ 132,851 ลบ.เดินหน้าพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเคียงคู่สังคมไทย เตรียมออกหุ้นกู้ชุดใหม่ อัตราดอกเบี้ย 4.25-4.80% คาดเสนอขายวันที่ 21-23 ส.ค.นี้ บมจ.เมืองไทย...

Tuesday, 08 August 2023 18:31

ALT โชว์ไตรมาส 2/66 กวาดรายได้ 396 ลบ . งานโซลาร์รูฟท็อป - บริการโครงข่ายรุ่งแนวโน้มโตต่อเนื่อง เอแอลที เทเลคอม โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2566 กวาดรายได้ 396 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 56.6%...

Tuesday, 08 August 2023 17:01

PSP พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ บิ๊กน้ำมันหล่อลื่น จ่อเข้าเทรด SET จับตา 'พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP)'เจ้าตลาดเบอร์หนึ่งธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นครบวงจรของไทยและอาเซียน เตรียมขายไอพีโอเข้าเทรด SET...

เศรษฐกิจ

Tuesday, 15 November 2022 14:33

GSB ต้อนรับประธานกรรมการธนาคารออมสินคนใหม่ นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ในนามคณะกรรมการธนาคารออมสิน และนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร...

Tuesday, 15 November 2022 14:32

สนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร พร้อมด้วยนายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (...

Tuesday, 15 November 2022 00:07

‘ ณัฐพล ’ ปลัดอุตฯ บูมเศรษฐกิจภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผุดกระบี่โมเดล ยกระดับ 3 มิติอุตสาหกรรม สู่การกระจายรายได้เศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน ดร . ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม...

Monday, 14 November 2022 16:14

บอร์ด บสย. แต่งตั้ง ' เอด วิบูลย์เจริญ ' ประธาน บสย. คนใหม่ คณะกรรมการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีมติแต่งตั้ง ‘เอด วิบูลย์เจริญ’ดำรงตำแหน่ง ประธาน บสย. มีผลตั้งแต่วันที่ 14...

บทความ-วิเคราะห์

EDUCATION 

Tuesday, 15 November 2022 15:30

ทีซีซีเทค ปลื้ม Enjoy to the Max 2 บรรลุตามเป้า ! ต่อยอดการยกระดับดิจิทัลขั้นสูงในองค์กร สิ้นสุดพิธีมอบรางวัลไปด้วยรอยยิ้มและความสุข สำหรับ “TCCtech X M365 Star Icon Stage” ภายใต้โครงการ Enjoy to...

กทม. ท้องถิ่น

Sunday, 13 November 2022 18:00

รมว.เฮ้ง ส่ง ' โฆษก ' เยี่ยมกลุ่มบายศรีบึงกาฬ สร้างอาชีพเสริม รับนักท่องเที่ยวสายมู นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน...

ข่าวสังคม

Tuesday, 15 November 2022 17:30

ธพว . ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( ธพว .) หรือ SME D Bank โดย นายศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส...