ทัพบก 60 'ทอ.-ทร.'15 โควต้าสนช. ตร.ชงชื่อ 'เอก-สมยศ'ปปช.ส่งคนชิง'ปฏิรูป'รวบ"เสธ.เจมส์"คารร. เรียกเก็บค่าคุ้มครอง ญาติโวย'กลั่นแกล้ง' ยืดปูแจงทัวร์นกขมิ้น

 

ดูความพร้อม - พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้า คสช. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ตรวจเยี่ยมความพร้อมของรัฐสภา เพื่อรองรับการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาปฏิรูปแห่งชาติ โดยมีนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาฯ และคณะ ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม

จับเสธ. - ตำรวจ สน.บางรัก รวมกับ ทหาร ม.พัน 3 รอ. วางแผนจับ พล.ต.เจนรณรงค์ เดชวรรณ หรือ "เสธ.เจมส์" ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม กับพวกรวม 5 คน พัวพันเรียกรับผลประโยชน์ผู้ค้าย่านซอยพัฒน์พงศ์ ได้ที่ล็อบบี้โรงแรมตะวันนา กทม. เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม

     มติชนออนไลน์

     ทหารพระธรรมนูญนำตัวเสธ.เจมส์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำ ก.กลาโหมส่งกองปราบสอบปากคำ หลังโดนรวบพร้อมพวกคาโรงแรมดัง ข้อหาเรียกค่าคุ้มครองย่านพัฒน์พงศ์ พท.เรียกร้องทบทวนโยกงบเอสเอ็มแอล ปชป.ติงแจงทรัพย์สิน 5 แสนหวั่นกระทบเศรษฐกิจ

@ บิ๊กอู๋ยันสภาพร้อมรับสนช.

      เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่รัฐสภา พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ เดินทางมาตรวจเยี่ยมความพร้อมของรัฐสภา เพื่อเตรียมการสนับสนุนภารกิจด้านนิติบัญญัติ รองรับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) โดยมีนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมนางนรรัตน์ พิมพ์เสน เลขาธิการวุฒิสภา และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้ง 2 หน่วยงานให้การต้อนรับ โดยมีการบรรยายสรุปงานของรัฐสภาที่ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคาร 3

      พล.ต.อ.อดุลย์กล่าวว่า รัฐสภามีความพร้อมในการเตรียมงานแล้ว จึงไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษ ส่วนรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาวันที่ 6 สิงหาคมนี้ ยังไม่มีกำหนดการดังกล่าว และถ้าโปรดเกล้าฯ สมาชิก สนช.เมื่อใดนั้น สนช.ก็พร้อมทำงานทันที อย่างไรก็ตาม นายจเรและนางนรรัตน์ได้นำ พล.ต.อ.อดุลย์ไปเยี่ยมชมห้องประชุมรัฐสภาที่จะใช้เป็นห้องประชุม สนช.ด้วย โดย พล.ต.อ.อดุลย์ได้ให้ความสนใจความพร้อมของอุปกรณ์ พร้อมสอบถามถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ขณะที่ทางรัฐสภาได้มอบรัฐธรรมนูญชั่วคราวและข้อบังคับ รวมทั้งเอกสารที่สำคัญให้ พล.ต.อ.อดุลย์ด้วย 

@ นรรัตน์ยันใช้ข้อบังคับสนช.ปี"49 

       นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวว่า ที่ผ่านมาวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรได้ทำงานประสานงานทำงานร่วมกันในการเตรียมความพร้อมภายในรัฐสภามาตลอด พล.ต.อ.อดุลย์มีข้อแนะนำเล็กน้อย เพื่อให้งานของรัฐสภามีความสมบูรณ์มากขึ้น สำหรับข้อบังคับการประชุม สนช. เบื้องต้นจะใช้ข้อบังคับ สนช.ปี 2549 ก่อน จากนั้นจะให้สมาชิก สนช.ร่างข้อบังคับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ขณะที่วาระที่ยังค้างอยู่ในรัฐสภาก็ต้องขึ้นอยู่กับ คสช.จะเห็นชอบให้นำเรื่องใดขึ้นมาพิจารณา 

     ส่วน สนช.สามารถถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตาม ป.ป.ช. ส่งเรื่องมาก่อนหน้านี้ได้หรือไม่นั้น นางนรรัตน์กล่าวว่า ต้องดูข้อกฎหมาย เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ถูกยกเลิกไปแล้ว คงเป็นหน้าที่ของประธาน สนช.พิจารณาเป็นเรื่องๆ ต่อไป สำหรับการประชุมคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ ยังเดินหน้าได้ตามปกติ แม้จะยังไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก คสช.ออกประกาศให้กระบวนการสรรหาเดินหน้าต่อไปได้ ตามจำนวนคณะกรรมการสรรหาที่มีอยู่ ส่วนกรณีที่วุฒิสภาลงมติเลือก น.ส.สุภา ปิยะจิตติ เป็นกรรมการ ป.ป.ช.ก่อนรัฐประหารนั้น เรื่องดังกล่าวคงต้องรอให้ สนช.เป็นผู้พิจารณาต่อไป 

     ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับเตรียมความพร้อมงานด้านรัฐพิธีเปิดประชุม สนช. มีนายทหารเข้ามาประสานงานร่วมกับตำรวจรัฐสภาในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานความมั่นคงได้ขอให้ตำรวจรัฐสภาใช้มาตรการตรวจคนเข้า-ออกให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น อาทิ ช่วงนอกเวลาราชการหรือวันหยุด ข้าราชการ พนักงาน หรือบุคคลภายนอกจะผ่านเข้า-ออกรัฐสภา ต้องลงชื่อเพื่อแสดงตัวและแจ้งสถานที่ที่จะไปปฏิบัติงานที่ห้องกองรักษาการ และก่อนเดินทางออกจากพื้นที่ให้ลงชื่อออกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น

@ ปธ.ป.ป.ช.โยนสนช.ถอดถอน 

     ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวถึงกรณีที่ ป.ป.ช.เตรียมส่งสำนวนคดีโครงการรับจำนำข้าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้อัยการสูงสุด คาดว่าจะเสนอได้ไม่เกินสัปดาห์หน้า ส่วนกระแสข่าวว่าทาง ป.ป.ช.จะชะลอการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เนื่องจากยังไม่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความจริง เพราะคดีถอดถอนที่วุฒิสภาส่งมาให้ ป.ป.ช. เมื่อพิจารณาแล้วก็ต้องส่งกลับไปยังวุฒิสภาดำเนินการต่อไป แต่เมื่อไม่มีวุฒิสภาทำหน้าที่ และต้องรอการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงเห็นควรให้ชะลอกระบวนการยื่นถอดถอนไว้ก่อน ขณะนี้มีอยู่ 3 คดีคือ การถอดถอน ส.ส.และ ส.ว. ที่ร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. และคดีการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะละเลยเพิกเฉยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ส่วนการยื่นถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว. ได้ส่งเรื่องให้กับวุฒิสภาไปก่อนแล้ว

@ แย้มชง"วิชา-วิชัย-ภักดี"นั่งสปช.

      นายปานเทพ กล่าวถึง การใช้สิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า ทาง ป.ป.ช.จะเสนอใครไปนั้นต้องมีการประชุมคณะกรรมการก่อนและให้ทาง คสช.ติดต่ออย่างเป็นทางการมาก่อน หากจะส่งตัวแทนของบุคคลเข้าไปใน สปช. อาจเป็นผู้ที่รู้เกี่ยวกับกฎหมาย เช่น นายวิชา มหาคุณ หรือนายวิชัย วิวิตเสวี และรู้ยุทธศาสตร์ของ ป.ป.ช เช่น นายภักดี โพธิศิริ และนายสรรเสริญ พลเจียก น่าจะมีคนจาก ป.ป.ช. เข้าไปใน สปช. เพื่อจะได้ปฏิรูปการทุจริต เพราะจะได้มีบุคคลที่ประสานเรื่องที่ ป.ป.ช.ต้องการปฏิรูป เช่น กฎหมาย ป.ป.ช.เรื่องอายุความ ยุทธศาสตร์ด้านกฎหมายของ ป.ป.ช. กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ และเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน เนื่องจากปกติจะมีระยะเวลาในการอายัดได้เพียง 1 ปี ทั้งนี้ทาง ป.ป.ช.ต้องการให้ขยายเวลาออกไปถึง 2 ปี โดยได้ประสานเรื่องนี้ให้ทาง คสช.แล้ว นอกจานี้ ป.ป.ช.เตรียมแก้กฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องร้องกรรมการ ป.ป.ช.โดยผู้ที่จะฟ้องร้องต้องยื่นเรื่องผ่าน ส.ว. และเข้าชื่อเสนอ จากนั้นต้องยื่นผ่านศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมืองเท่านั้นไม่สามารถยื่นฟ้องผ่านศาลชั้นต้นได้

@ โควต้าสนช.ทหารพรึบเกิน100

      รายงานข่าวแจ้งว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เร่งตรวจสอบประวัติรายชื่อบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามรายชื่อที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลกระบวนยุติธรรมและกฎหมาย เสนอรายชื่อเข้ามาเพื่อคัดเลือกบุคคลจำนวน 220 คน คาดว่า พล.อ.ประยุทธ์จะนำขึ้นทูลเกล้าฯในระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 3 สิงหาคมนี้ เพื่อให้เปิดการประชุมนัดแรกกลางเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนที่จะมีการเลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต่อไป สำหรับบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่ง สนช.นั้น พล.อ.ประยุทธ์ได้กำหนดว่า ต้องสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกรัฐสภา และทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มีหน้าที่พิจารณาในการผ่านกฎหมายสำคัญ โดยเฉพาะกฎหมายพิเศษ ทั้งนี้รายชื่อที่คาดว่าจะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็น สนช.นั้น มีการแบ่งโควต้ากันคร่าวๆ คือในส่วนของกองทัพบก 60 คน กองบัญชาการกองทัพไทย 20 คน กองทัพเรือ 15 คน กองทัพอากาศ 15 คน สำนักงานปลัดกลาโหม 10 คน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 10 คน ส่วนโควต้าที่เหลือจะมาจากนักวิชาการ กลุ่มเอ็นจีโอ นักธุรกิจจากหลายสาขาอาชีพ อดีตสมาชิกวุฒิสภา

@ ตร.จัดแถวส่งตัวแทนนั่งสนช.

      รายงานข่าวจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) แจ้งว่า สำหรับรายชื่อนายตำรวจที่ คสช.อาจเสนอเป็น สนช.คาดว่าไม่เกิน 10 คน อาทิ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร. พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้ช่วย ผบ.ตร. รรท.ผบช.น. พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ อดีต รอง ผบ.ตร.ที่โอนไปเป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พล.ต.อ.สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล อดีตรอง ผบ.ตร.ที่เกษียณราชการไปแล้ว แต่มีความใกล้ชิดและเป็นเพื่อนร่วมรุ่น นรต.29 กับ พล.ต.อ.วัชรพลรวมถึงอาจมีตำรวจที่มีสายสัมพันธ์กับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร.ทั้งที่อยู่ในราชการและเกษียณอายุราชการไปแล้วจำนวนหนึ่ง

@ ถกสถาบันการเงินแจงทรัพย์สิน

     นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ภายหลังประชุมหลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการ ในการเชื่อมโยง รับ-ส่ง ข้อมูลระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. สถาบันการเงิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำร่างประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องกำหนดจำนวนเงินและมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมที่ต้องรายงานต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น หลังจากนี้ทางคณะทำงานของ ป.ป.ช. จะประชุมร่วมกับตัวแทนของสถาบันทางการเงิน ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม เพื่อพิจารณาในรายละเอียดทางเทคนิคและในทางปฏิบัติอีกประมาณ 32 ประเด็น อาทิ ขั้นตอนการกรอกแบบฟอร์มของ ป.ป.ช. รวมไปถึงรูปแบบของเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานและสถาบันการเงิน เมื่อได้ข้อสรุปคณะทำงาน ป.ป.ช. จะประมวลเรื่องทั้งหมดเข้าที่ประชุมอนุกรรมการพัฒนาระบบเห็นชอบ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาและประกาศใช้ต่อไป มีกำหนดเวลาจะเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 

@ สถาบันการเงินต้องแจ้งเรียลไทม์

     นายวรวิทย์ กล่าวว่า รายละเอียดประกาศดังกล่าว ต่างจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) คือ 1.กลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ต้องรายงานในส่วน ป.ป.ช. จะเน้นเฉพาะนักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. และบุคคลที่ถูกเฝ้าระวัง แต่ของ ปปง.คือประชาชนทุกสาขาอาชีพ ที่ทำธุรกรรมทางการเงิน 2.เงื่อนไขในการให้รายงาน ป.ป.ช. ให้รายงานต่อเมื่อมีกรณีจำเป็น ไม่ใช่ว่าคนที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทุกคน สถาบันทางการเงินต้องรายงานกับ ป.ป.ช.หมด บุคคลที่ ป.ป.ช.จะแจ้งไปว่าจะเฝ้าระวังใคร จะโฟกัสใคร มีลักษณะ เช่น บุคคลที่ถูกร้องเรียน ส่วนนี้สถาบันทางการเงินต้องรายงานแบบเรียลไทม์ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่มีงบประมาณจำนวนมาก เป็นต้น ด้าน ปปง.ดูทุกสาขาอาชีพ หากมีการทำธุรกรรมที่มีจำนวนเงินต้องรายงาน

@ ย้ำวงเงิน5แสนต้องรายงาน

     นายวรวิทย์ กล่าวว่า 3.มูลค่าของธุรกรรมตามประกาศ ป.ป.ช.มีมูลค่าน้อยกว่า ปปง. ต้องรายงานหากมีเงินสดหมุนเวียนเกิน 5 แสนบาท อสังหาริมทรัพย์เกิน 1 ล้านบาท ส่วนของ ปปง. เงินสดหมุนเวียน 2 ล้านบาท อสังหาริมทรัพย์ 5 ล้านบาท 4.ระยะเวลาให้รายงานต่างกัน ในส่วน ป.ป.ช.ต้องรายงานเดือนละ 1 ครั้ง ด้าน ปปง.ต้องรายงานทุก 15 วัน แต่หากเกิดข้อสงสัย สถาบันทางการเงินต้องรายงานให้ ปปง.ทราบทุก 7 วัน แต่ของ ป.ป.ช.ไม่จำเป็นครบ 1 เดือนแล้วรายงานเช่นเดิม 5.แบบฟอร์มต่างกัน แบบฟอร์มในการรายงานของแต่ละที่ต่างกัน แต่หากมีการหาแล้วเสร็จอาจปรับใช้แบบฟอร์มทางอิเล็กทรอนิกส์ จะเหมือนกันหมด 6.บทลงโทษสำหรับสถาบันทางการเงินที่ไม่ได้รายงานการทำธุรกรรมในส่วนของ ปปง. หากสถาบันทางการเงินไม่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทำธุรกรรมจะมีทั้งโทษจำคุกและปรับ แต่ของ ป.ป.ช.ไม่มีโทษ เป็นการขอความร่วมมือ เชื่อว่าสถาบันทางการเงินจะให้ความร่วมมือ เพราะที่ผ่านมาก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี นอกจากนี้จากที่มีข่าวเรื่องประกาศนี้ออกไป อาจจะกระทบกับผู้เกี่ยวข้องนั้น ขณะนี้ยังไม่มีผู้มาร้องเรียนหรือแสดงเจตนาไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศนี้

      หากบังคับใช้ประกาศนี้มั่นใจว่าจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก ป.ป.ช.สามารถเข้าไปตรวจสอบทรัพย์สินและการทำธุรกรรมของผู้ที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถอายัดทรัพย์สินเมื่อพบว่ามีความผิดปกติได้ทันที

@ ปชป.ติงหวั่นกระทบเศรษฐกิจ

      นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงการที่ ป.ป.ช. กำหนดจำนวนเงินและมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมที่ต้องรายงานต่อ ป.ป.ช. โดยเงินสดหมุนเวียน 5 แสนบาท และอสังหาริมทรัพย์ 1 ล้านบาทว่า เห็นด้วยในหลักการนี้และในยอดเงิน 2 ล้านบาท แต่ในทางกลับกันหากลดจำนวนเงินลงเป็นวงเงินการทำธุรกรรมเป็น 5 แสนบาท และอสังหาริมทรัพย์เป็น 1 ล้านบาทนั้นคงเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะจะทำให้ ป.ป.ช.ทำงานหนักขึ้น เพิ่มเจ้าหน้าที่เข้ามาทำงานเท่าไหร่ก็ไม่สามารถทำงานได้ทัน เพราะสุดท้ายแล้วคดีจะมาจบที่คณะ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คนจะเป็นผู้พิจารณา หากหยิบคดีไหนขึ้นมาทำก่อนก็อาจถูกมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ และอาจทำให้ความเชื่อถือลดลง ดังนั้นในทางปฏิบัติ ป.ป.ช.ต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ เนื่องจากการลดวงเงินลงจะทำให้ระบบการเงินของประเทศเดือดร้อน ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและเงินหมุนเวียนทางตลาดมากขึ้น

@ มาร์คยกครอบครัวที่พึ่งสังคม 

      ที่บริษัทสหพัฒนพิบูล จำกัด ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวบรรยาย ในหัวข้อ "ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปพลเมืองไทย" ให้กับพนักงาน บริษัทสหพัฒนพิบูลฟังตอนหนึ่งว่า อยากเห็น เศรษฐกิจการเมือง สังคมดี ต้องสร้างคนสร้างค่านิยมของสังคมขึ้นมารองรับ การเรียนในห้องเรียนไม่สำคัญเท่าการเรียนรู้นอกห้องเรียน ในชีวิตจริงคนที่ทำผิดส่วนใหญ่ก็รู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี แต่ทำไมจึงทำ การเรียนในห้องเรียนต้องเชื่อมโยงกับชีวิตจริง จึงอยากเห็นทุกโรงเรียนได้เปิดให้ครูกับนักเรียนมาถกเถียงเกี่ยวกับข่าวประจำวันในช่วงเช้า เพื่อหาข้อคิดให้เด็กเยาวชนตื่นตัวตลอดเวลา ศึกษาวิเคราะห์กันถึงสาเหตุและการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่ดีซ้ำรอยอีก ต้องทำให้สังคมเข้าใจเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และผลประโยชน์ที่ขัดกัน เพื่อสร้างจิตสำนึกของการเป็นส่วนรวม หน้าที่พลเมือง ความเป็นเจ้าของประเทศ เพื่อปกป้องหวงแหน โดยการเรียนรู้ดีที่สุดคือการทำกิจกรรม ให้เด็กทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมร่วมกัน เด็กจะค่อยๆ ซึมซับเข้าไปเอง

    "จากนี้ไปพวกเราจะอยู่กับคำว่าสามัคคี ปรองดอง ไปด้วยกันอีกนาน คำว่าสามัคคีเป็นเรื่องดี แต่ความเห็นแย้งไม่ใช่จะเป็นเรื่องไม่ดีเสมอไป ความเป็นกลางไม่ใช่ว่า ถ้าเป็นคู่กรณีกันต้องผิดด้วยกันไปด้วยกัน ตำรวจจะปรองดองกับโจรไม่ได้ เราจะหวังเฉพาะระบบการศึกษาไม่ได้ ต้องดูมากกว่าระบบการศึกษา สถาบันครอบครัวต้องเป็นที่พึ่งของสังคมได้ ทุกวันนี้เยาวชนใช้เวลาที่อยู่กับเพื่อน อยู่กับอุปกรณ์การสื่อสาร มากกว่าอยู่ในห้องเรียน มากกว่าอยู่กับครอบครัว สังคมเดี๋ยวนี้มันท้าทายด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยสื่อ และบุคคลสาธารณะก็มีบทบาทมากต่อการชี้นำ สร้างกระแสอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่" นายอภิสิทธิ์กล่าว

@ นิพิฏฐ์หวั่นเลือกตั้งปัญหาไม่จบ 

    นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า ปัญหาของประเทศที่เกิดขึ้นเพราะมองประชาธิปไตยต่างกัน จนเป็นที่มาของวาทะไพร่อำมาตย์ และความยุติธรรมสองมาตรฐาน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้คนมีความเข้าใจในมาตรฐานกลางของคำว่าประชาธิปไตยและความยุติธรรมได้ตรงกัน หากยังเข้าใจต่างกันหลังการเลือกตั้งก็ยังมีปัญหาอีก เพราะทั้งประชาธิปไตยและความยุติธรรมกลายเป็นความเชื่อทางการเมืองไปแล้ว และยังเป็นวาทะที่ทันสมัย ใช้หาเสียงได้อยู่เสมอ แต่ความเชื่อไม่ใช่จะเปลี่ยนไม่ได้ อยู่ที่ว่ามีวิธีที่จะดึงประชาชนให้เข้าสู่มาตรฐานกลางของความเชื่อได้อย่างไร

@ พท.โวยคสช.โยกงบเอสเอ็มแอล

     นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท อดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการตัดเงินบำนาญ ส.ส.ของ คสช. ว่า ข้อเท็จจริงแล้วมิใช่เงินบำนาญ แต่เป็นเงินกองทุนช่วยเหลืออดีต ส.ส. ด้วยการหักเงินเดือน ส.ส.ที่เป็นอยู่ สมทบกองทุนมานานนับสิบปี ต่อมาเมื่อปี 2550 คนที่เป็น ส.ส.อยู่ถูกหักเงินต่อเดือนมากขึ้นเพื่อช่วยสงเคราะห์อดีตสมาชิกเดือนละ 15,000 บาท ทุกคนก็ยินดี เรียกว่าเบี้ยยังชีพอดีตสมาชิก ส.ส. การที่ คสช.ไม่มีรายละเอียดและข้อมูล และหากทำไปเพราะความมีอคติต่อนักการเมืองและต้องการเพียงการทำลายล้างกันถือว่าโหดร้ายเกินไปที่บรรดาอดีต ส.ส.ไม่มีสิทธิจะรับแม้เงินของตัวเองถูกหักไว้ อย่างไรก็ตามคิดว่าเรื่องนี้ไม่ร้ายเท่ากับการยุติกองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (เอสเอ็มแอล) ให้ประชาชนนำเงินไปแก้ไขปัญหาในชุมชนของตนในรูปแบบคณะกรรมการหมู่บ้าน การที่ คสช.ตัดงบประมาณดังกล่าวอยากถามว่ามาถูกทางแล้วหรือในการคืนความสุขให้ประชาชน 

@ ยันยังยึดปชช.เป็นศูนย์กลาง 

      นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีมีการยกเลิกโครงการเอสเอ็มแอล และย้ายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปให้กระทรวงมหาดไทยดูแล ว่า ณ สถานการณ์ปัจจุบัน ผู้บริหารให้ความสำคัญกับฝ่ายประจำหรือข้าราชการ เป็นเรื่องปกติของการทำงานภายใต้โครงสร้างปัจจุบัน ก็ต้องให้โอกาสผู้บริหารได้ทำงานตามหลักคิดที่ได้พิจารณาแล้วว่าเหมาะสม สำหรับนโยบายของ พท.ที่ผ่านมาในอดีตมีหลักการสำคัญคือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่ละนโยบายจะเปลี่ยนแปลงพัฒนาเมื่อสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อให้โครงการแต่ละนโยบายเกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชนและประเทศชาติ แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปอย่างไร จะไม่ทิ้งหลักการสำคัญคือการให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

@ เรืองไกรให้ระวังซ้ำรอยยุคปี"50 

      นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า หลังจากที่มีกระแสข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ฐานะหัวหน้า คสช.จะแต่งตั้ง สนช.พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า พล.อ.ประยุทธ์จะนำรายชื่อ สนช.ขึ้นทูลเกล้าฯประมาณวันที่ 31 กรกฎาคม -3 สิงหาคมนั้น เมื่อมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พล.อ.ประยุทธ์เป็นหัวหน้า คสช.แล้ว ก็เท่ากับว่า พล.อ.ประยุทธ์มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินและมีอำนาจเต็มอยู่แล้ว ดังนั้นการแต่งตั้ง สนช.โดยมีทหารเข้ามานั่งใน สนช.เป็นจำนวนมากและเกินครึ่งหนึ่ง เพื่อเข้ามาโหวตเลือกนายกฯและ ครม.ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก และ พล.อ.ประยุทธ์ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้ง สนช.ก็ได้ เพราะมีอำนาจกำกับรัฐบาลอยู่แล้ว หรือหากจะตรากฎหมายก็ไม่จำเป็นต้องรอให้ออกจาก สนช. เพราะ คสช.สามารถออกเป็นประกาศเหมือนที่ทำอยู่ทุกวันนี้ได้เลย หากเห็นว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อการปรองดองและการปฏิรูปประเทศ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ตั้ง สนช.ขึ้นก็เพื่อหวังทอดเวลาออกไป ให้แต่ละฝ่ายแต่ละสีเสื้อได้ใช้เวลาช่วงนี้สลายความรู้สึกเกลียดชังต่อกันลง บรรยากาศความปรองดองก็จะเพิ่มขึ้น ส่วนใครจะเข้ามานั่งเป็นประธาน สนช.นั้น ใครก็ได้ เป็นนักกฎหมายก็ยิ่งดี ขอให้ใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ อย่าให้เป็นเหมือนนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธาน สนช.

    ปี"50 ที่การผ่านกฎหมายประมาณ 80% ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่คะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และยังมีกฎหมายคาอยู่อีกจำนวนมาก ดังนั้นประธาน สนช.ปี"57 ต้องไม่ทำให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต่างจากสภาตรายาง อย่าให้เจตนารมณ์ พล.อ.ประยุทธ์ต้องเสียเปล่า

@ "อ๋อย"ส่งทนายแจ้งศาลป่วย 

    ที่กรมพระธรรมนูญ ศาลทหารกรุงเทพฯ ศาลทหารได้นัดหมายนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้มาฟังคำสั่งฟ้อง ภายหลังจากเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนให้อัยการศาลทหาร โดยมีความเห็นว่าควรสั่งฟ้องนายจาตุรนต์ ทั้ง 3 ข้อหา ประกอบไปด้วย 1.ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่งเรียก มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2.ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากกรณีฝ่าฝืนกฎอัยการศึกและยุงยงปลุกปั่น โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และ 3.ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2550 อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ทางนายจาตุรนต์ไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเองแต่ได้มอบหมายนายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนรับฟังคำสั่งเท่านั้น เนื่องจากอำนาจการควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนได้สิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม จึงส่งผลให้เงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวได้สิ้นสุดลงไปด้วย ดังนั้น นายจาตุรนต์จึงสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้โดยอิสระแล้ว

     นายนรินท์พงศ์ กล่าวว่า ได้นำใบรับรองแพทย์มาชี้แจงต่อศาลถึงสาเหตุที่นายจาตุรนต์ไม่สามารถเดินทางมารับฟังคำสั่งของศาลได้ เพราะได้เข้าพักรักษาตัวจากอาการเจ็บหน้าอก ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และต้องวินิจฉัยอาการในวันที่ 31 กรกฎาคม ภายหลังการชี้แจงศาลก็ได้อนุญาตให้เลื่อนฟังคำสั่งฟ้องไปเป็นวันที่ 4 สิงหาคมนี้ ขณะนี้ทางอัยการได้ทำสำนวนเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของคำสั่ง หากวันที่ 4 สิงหาคมนี้ อัยการมีคำสั่งฟ้องนายจาตุรนต์ ทางทีมทนายความก็จะยื่นขอประกันตัวอีกครั้ง ในวงเงินเดิมที่ 400,000 บาท และหากศาลอนุมัติให้ปล่อยตัวนายจาตุรนต์ ก็ต้องดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ (บ.ก.ลายจุด) คือนำตัวไปปล่อยที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจศาล" นายนรินท์พงศ์กล่าว

@ กกต.ยืดสอบปูไม่เกิน25ส.ค.

    รายงานข่าวจาก กกต.แจ้งว่า กรณีที่คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนของ กกต.มีมติเอกฉันท์แจ้งข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกับพวกรวม 9 คน ว่า กรณีใช้บุคลากรและทรัพยากรของรัฐไปเดินสายตรวจราชการในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงที่มีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง ว่าขณะนี้ทนายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ทำหนังสือมายังคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนฯ เพื่อขอขยายเวลาในการชี้แจง เนื่องจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางไปต่างประเทศและจะเดินทางกลับมาในวันที่ 10 สิงหาคม คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนฯได้อนุญาตให้ขยายเวลาในการชี้แจงครั้งแรกไป 15 วัน นับจากวันที่ 10 สิงหาคม เพื่อให้ผู้ถูกร้องมีเวลาเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ เท่ากับว่าการขยายเวลาครั้งแรกจะไปสิ้นสุดในวันที่ 25 สิงหาคม ทั้งนี้การสืบสวนสอบสวนได้มีมาตรการในการป้องกันกรณีที่ผู้ถูกร้องอาจประวิงเวลาโดยให้สามารถขยายเวลาชี้แจงได้ 2 ครั้ง ถ้าเกินกว่านั้นคณะกรรมการสืบสวนก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมว่าจะอนุญาตให้ขยายเวลาอีกหรือไม่ หรือกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ให้ความร่วมมือก็จะถือว่าไม่ติดใจจะชี้แจง

@ ไม่อยากให้มองเกมการเมือง

      รายงานข่าว กกต. แจ้งอีกว่า ส่วนกรณีที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า กกต.เร่งพิจารณาคดีเพื่อเอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์นั้น ยืนยันว่ากรณีนี้ถือเป็นความปรากฏที่ กกต.เห็นเองตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2556 และมกราคม 2557 ถือว่าใช้เวลานานในการพิจารณา ก่อนหน้านี้ กกต.ได้ขอเอกสารหลักฐานจากผู้ถูกร้องแต่ระบุว่าไม่สามารถรวบรวมเอกสารหลักฐานได้ เนื่องจากมีการชุมนุมปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ทำให้การพิจารณาคำร้องนี้ได้เลื่อนออกมาเพราะเข้าใจสถานการณ์ แต่เมื่อเหตุการณ์สงบการพิจารณาคำร้องก็ดำเนินการตามปกติเป็นไปตามระเบียบวาระการประชุมทุกขั้นตอน ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามการพิจารณาคำร้องดังกล่าวยังถือว่าอยู่ในขั้นแรก ยังมีเวลาที่ผู้ถูกร้องจะชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และยังเหลือกระบวนการยุติธรรมอีกหลายขั้นตอน จึงไม่อยากให้มองว่าเป็นการเล่นเกมทางการเมือง

@ องค์กรนิรโทษห่วงสถานการณ์ไทย

    เว็บไซต์วอยซ์ออฟอเมริกา รายงานว่า องค์การนิรโทษกรรมสากล แถลงว่า ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่ 4 คน จากสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในไทยหลังการยึดอำนาจของทหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวนขององค์การนิรโทษกรรมฯ อยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 9 วัน ตั้งแต่วันที่ 9-18 กรกฎาคมที่ผ่านมา และได้พบกับรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 

    นายโอลอฟ บลอมควิสต์ โฆษกขององค์การนิรโทษกรรมฯ เปิดเผยว่า ทางองค์การนิรโทษกรรมฯ ยินดีอย่างยิ่งต่อความเต็มใจของ คสช.ที่ได้ทำงานร่วมกับตัวแทนขององค์การนิรโทษกรรมฯ และตอบคำถามต่างๆ 

    "เรามีความเป็นห่วงกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยนับตั้งแต่ทหารยึดอำนาจ และรายงานชิ้นนี้ซึ่งจะนำออกมาเผยแพร่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า จะชี้แจงถึงความห่วงกังวลอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น" นายบลอมควิสต์อธิบาย และว่า ทางองค์การนิรโทษกรรมฯยังได้ให้คำแนะนำที่หนักแน่นบางอย่างแก่ คสช. ซึ่งหวังว่าทาง คสช.จะเข้าใจว่าจะทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายในพันธะด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

@ จับพล.ต.ข้อหาเรียกค่าคุ้มครอง

     เมื่อเวลา 01.00 น. วันที่ 30 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่ทหาร ม.พัน 3 รอ.และ พล.ม.2 รอ. พร้อมตำรวจสายตรวจ สน.บางรัก จับกุม พล.ต.เจนรณรงค์ เดชวรรณ หรือ เสธ.เจมส์ อายุ 55 ปี ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมกับพวก ผู้ต้องสงสัย โดยถูกกล่าวหาเป็นขบวนการเรียกเก็บค่าคุ้มครองตลาดพัฒน์พงศ์ พร้อมเงินสดจำนวนหนึ่ง จับได้ที่ล็อบบี้โรงแรมตะวันนา ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กทม.

     สืบเนื่องจากทหารได้รับร้องเรียนจากผู้ประกอบการค้าย่านซอยพัฒน์พงศ์ว่า มีขบวนการอ้างเป็นทหารมาเรียกเก็บเงินค่าคุ้มครอง เพื่อจัดระเบียบถนนพัฒน์พงศ์ ซอย 1 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก จึงวางแผนให้สายลับแฝงตัวเป็นผู้ค้า กระทั่งกลางดึกที่ผ่านมา มีกลุ่มคนมาเรียกเก็บเงินจำนวน 2,000 บาท ก่อนนำเงินไปให้แก่ พล.ต.เจนรณรงค์ที่นั่งรออยู่ที่ล็อบบี้โรงแรมดังกล่าว จากนั้นทหารและตำรวจจึงแสดงตัวจับกุมพร้อมของกลางก่อนนำไปสอบสวนที่ สน.บางรัก

      สอบสวนผู้ต้องสงสัยสารภาพว่าเก็บค่าคุ้มครองจากผู้ค้าในซอยพัฒน์พงศ์จริงเพื่อดูแลความเรียบร้อย เบื้องต้นตำรวจลงบันทึกประจำวันไว้ จากนั้นมีนายทหารพระธรรมนูญและ ผบ.ม.พัน 3 รอ. มารับตัวไปควบคุมและสอบสวนอย่างละเอียดที่ พล.ม.2 รอ.ตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ก่อนส่งพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ช่วงบ่าย เพื่อดำเนินคดีต่อไป

@ ญาติโวยโดนกลั่นแกล้ง

     ต่อมาเวลา 15.00 น. ที่ บก.ป. พ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ พล.ม.2 รอ. พร้อมสารวัตรทหาร เชิญตัว พล.ต.เจนรณรงค์กับพวก ประกอบด้วย น.ส.นงนุช สิทธิรัตน์ อายุ 44 ปี นายปานทอง ศิริวรรณ์ อายุ 40 ปี นางจันทิมา โชติกิตติเกษม อายุ 44 ปี และ น.ส.สุรัตน์ พุ่มพวง อายุ 46 ปี รวม 5 คน เข้าพบ พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รอง ผบก.ป. เพื่อให้ปากคำ

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่ พล.ต.เจนรณรงค์มาโดยรถตู้สีขาวและลงจากรถ เจ้าหน้าที่สารวัตรทหารขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดถ่ายภาพหรือสัมภาษณ์ใดๆ โดย พล.ต.เจนรณรงค์พยายามหลบเลี่ยงก่อนเข้าห้องพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป.พร้อมกับพวก 4 คน ต่อมาญาติ พล.ต.เจนรณรงค์ ติดตามมาถึง บก.ป.ก่อนระบุว่าเรื่องนี้เป็นการกลั่นแกล้งกัน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ นอกจากนี้ยังได้หยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเพื่อบันทึกภาพและถ่ายเป็นคลิปวิดีโอบรรดาสื่อมวลชนที่มาเฝ้ารอทำข่าวด้วย

@ แยกควบคุมตัวทหาร-พลเรือน

    พ.ต.อ.ประสพโชคกล่าวว่า พ.ท.บุรินทร์ได้เชิญตัว พล.ต.เจนรณรงค์กับพวกถูกร้องเรียนว่าเรียกเก็บเงินค่าคุ้มครองจากผู้ประกอบการย่านพัฒน์พงศ์ กรณีนี้เป็นนโยบายของ คสช.ต้องการจัดการกับปัญหาดังกล่าว ผู้ที่ถูกกล่าวหามีทั้งหมด 5 คน เป็นพลเรือน 4 คน ในส่วนของพลเรือนจะกักตัวไว้ที่ห้องขัง บก.ป.ตามอำนาจ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก เป็นเวลา 7 วัน ส่วนทาง พล.ต.เจนรณรงค์ ฝ่ายทหารจะรับไปดำเนินการเอง โดยจะรับตัวไปควบคุมในพื้นที่ทหาร

    พ.ต.อ.ประสพโชค กล่าวว่า สำหรับพลเรือนทั้งหมดเมื่อกักตัวไว้จนครบกำหนดแล้ว ทางทหารจะใช้ดุลพินิจว่าข้อมูลประกอบกับพฤติการณ์ต่างๆ ของผู้ถูกกล่าวหานั้น เข้าข่ายกระทำผิดตามกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าเป็นความผิด ก็จะเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป เมื่อพิจารณาว่าเป็นความผิดและมีการร้องทุกข์จึงจะเริ่มกระบวนการสอบสวน จากนั้นก็จะพิจารณาเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าให้ปากคำ ว่าใครมีพฤติการณ์เป็นอย่างไร ยืนยันว่าทางพนักงานสอบสวนจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

     ผู้สื่อข่าวถามถึงความเกี่ยวข้องของพล.ต.เจนรณรงค์กับกลุ่มผู้ต้องหาเรียกเก็บค่าคุ้มครองดังกล่าว และทำกันมานานแค่ไหน พ.ต.อ.ประสพโชคกล่าวว่า สำหรับข้อเท็จจริงต่างๆ อยู่ระหว่างตรวจสอบพร้อมกับเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏพบ ต่อข้อถามว่า