Payutบิ๊กตู่ บินสหรัฐแล้ว ถก'ยูเอ็น' ฮิวแมนไรต์แถลง จี้ที่ประชุมกดดัน 'อียู'โต้กลับไทย ย้ำเดดไลน์ไอยูยู 'อ๋อย'สวน'วิษณุ'

        'บิ๊กตู่'ควง'อาจารย์น้อง"พร้อมคณะบินไปร่วมประชุมยูเอ็นที่นิวยอร์ก องค์กรสิทธิมนุษยชน 'ฮิวแมนไรต์วอตช์'ต้อนรับทันที ออกแถลงจี้ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติกดดันให้คืนประชาธิปไตย-หยุดลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ยุติละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านอียูก็ตอบโต้โฆษกไก่อู ยันไม่ยืดเส้นตายให้ไทยกรณีประมงผิดกฎหมายภายในสิ้นเดือนต.ค. 'อ๋อย'สวนกลับ'ดร.วิษณุ'ไม่รับท้า-ไม่นวดเท้าตรอง หวั่นเสียคนแบบ'อาจารย์ปื๊ด' ย้ำร่นโรดแม็ปมาเป็น 3-3-3-2 ทำได้จริง ปลัดมหาดไทยเซ็นโยกย้าย-แต่งตั้งรองผู้ว่าฯล็อตใหญ่รวม 106 เก้าอี้ ปลัดจังหวัด-หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเฮได้ขึ้นเพียบ

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9066 ข่าวสดรายวัน

'บิ๊กตู่-เมีย'บินไปประชุมยูเอ็น

    เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 23 ก.ย. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เดินทางเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยในช่วงเช้ามีรองนายกฯและรัฐมนตรีมารอเข้าพบ อาทิ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกฯ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนา ศัย รองนายกฯ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผบ.สส. และพล.ต.อ. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ตร.

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฯไม่มีกำหนด การปฏิบัติหน้าที่ใดๆ เนื่องจากได้มอบให้รองนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่แทน โดยเวลา 23.50 น. นายกฯ และนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา พร้อมด้วยคณะจะออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นจีเอ) สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 23 ก.ย.ถึง 1 ต.ค.

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากที่พล.อ.ประยุทธ์มีอาการป่วยด้วยไข้หวัด เจ็บคอ จนแพทย์ต้องมาฉีดยาและให้ยาเพื่อบรรเทาอาการไปเมื่อ วันที่ 22 ก.ย.นั้น ปรากฏว่าเมื่อเวลา 13.10 น. แพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎฯได้เข้าตรวจอาการนายกฯอีกครั้ง โดยเปิดเผยเพียงสั้นๆ ว่าอาการของนายกฯดีขึ้น วันนี้แค่มาตรวจอาการเฉยๆ ซึ่งก็ไม่มีอะไร

    เมื่อถามว่าไม่มีผลต่อการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมยูเอ็นจีเอที่สหรัฐใช่หรือไม่ แพทย์จากร.พ.พระมงกุฎฯกล่าวเพียงว่า "ไม่มีอะไรครับ"

'บิ๊กป๊อก'เห็นชื่อสปท.-กรธ.แล้ว

     ที่กระทรวงมหาดไทย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวกรณีนายกฯ ให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเสนอรายชื่อบุคคลที่จะมาเป็นสปท. ว่าในส่วนของกระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อเสนอชื่อให้กับนายกฯ โดยจะเป็นข้าราชการ อดีตข้าราชการที่มีความรู้ด้านกฎหมาย

     เมื่อถามถึงรายชื่อกรธ.ที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ระบุว่าได้รายชื่อมาแล้ว พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่าได้เห็นบ้างบางส่วนแล้วแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ คงต้องรอเสนอนายกฯพิจารณาก่อน

      เมื่อถามถึงกรณีจะมีมวลชนมาชุมนุมต่อต้านและสนับสนุนนายกฯในการประชุมยูเอ็น พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ส่วนตัวอยากให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นไปด้วยดี ไม่มีความขัดแย้งแบบไม่มีเหตุผล เพราะที่ผ่านมาทุกฝ่ายรู้ดีว่าประเทศไทยต้องได้รับการแก้ปัญหา ดังนั้นไม่ควรเอาประเด็นความขัดแย้งภายในออกสู่นอกประเทศ

วิษณุแจงตั้ง"กนกทิพย์"ขึ้นซี 11

     ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวกรณีหัวหน้าคสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้นางกนกทิพย์ รชตะนันทน์ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงประจำสำนักนายกฯว่า เป็นตำแหน่งที่เปิดใหม่ ไม่มีมาก่อน ซึ่งตำแหน่งประจำสำนักนายกฯมีอยู่แล้ว 100 ตำแหน่ง ตั้งไว้ให้ข้าราชการซี 11 มาเป็นซี 11 เช่น ตั้งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) และปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ซี 11 มาลงในตำแหน่งประจำที่มีอยู่ 100 ตำแหน่ง แต่กรณีนางกนกทิพย์ พิจารณาซี 10 ขึ้นซี 11 จึงไม่สามารถใช้หลักการดังกล่าวได้ ต้องตั้งขึ้นใหม่ให้เป็นตำแหน่งเฉพาะตัว

     ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเทียบกับกรณีพล.ต.อ. เอก อังสนานนท์ รองผบ.ตร. ที่ถูกแต่งตั้งเป็นปลัดสำนักนายกฯได้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่ามีการส่งเรื่องพล.ต.อ.เอก ให้ก.พ. พิจารณาแล้ว และเทียบมาว่าดำเนินการได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจพิเศษเพราะกฎหมายมีอยู่ และเงินประจำตำแหน่งรองผบ.ตร.สูงกว่าปลัดกระทรวงหากจะอธิบายคือในเมื่อผบ.ตร.เทียบเท่าระดับ 11 รองผบ.ตร.จะเทียบเท่าไม่ได้ ฉะนั้นพล.ต.อ.เอกต้องมารับตำแหน่งซี 10 เพื่อตั้งขึ้นเป็น 11 อย่างกรณีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นอาจารย์ซี 10 แล้วตั้งให้มาเป็นผู้ตรวจ 1 วัน จากนั้นตั้งขึ้นเป็นเลขาฯครม. ซี 11 เช่นเดียวกับพล.อ.ทวีป เนตรนิยม ผบ.นทพ. เมื่อจะมาเป็นเลขาฯสมช. ก็มาเป็นซี 10 แล้วขึ้นซี 11 ทันที ไม่ต้องใช้มาตราพิเศษ เพราะก.พ.มีคู่มือพิจารณาอยู่

ตั้งแล้วทีมวิเคราะห์รธน.ถูกคว่ำ

     นายวิษณุ กล่าวกรณีนายกฯระบุให้ตั้งคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ถูกโหวตคว่ำว่าอยู่ระหว่างดำเนินงาน โดยคณะทำงานมี 3-4 คน ซึ่งคนประเมินไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพราะต้องเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์จากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ว่าทำไมถึงโหวตไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งบางคนส่งรายงานเบื้องต้นให้ตนรับทราบแล้ว โดยระบุว่าผู้ที่ไม่รับร่างแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกจะอย่างไรก็ไม่ชอบ อีกกลุ่มหนึ่งอาจมีเหตุผลทางวิชาการที่ไม่ชอบเรื่องนั้นเรื่องนี้ เช่น ไม่ชอบนายกฯคนนอก ไม่ชอบคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดอง(คปป.) หรือเรื่องส.ว.แต่งตั้ง ส่วนอีกกลุ่มชอบทั้งหมด แต่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง อยากให้รอไปก่อนเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และเมื่อได้ข้อสรุปทั้งหมด จะนำผลรายงานไปยังครม. ก่อน ส่งให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ต่อไป

รับทาบทาม'มีชัย'นั่งปธ.กรธ.

    เมื่อถามถึงกรณีมีข่าวว่านายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาคสช. ปฏิเสธรับตำแหน่งประธานกรธ. รองนายกฯกล่าวว่ายังไม่ทราบว่าปฏิเสธ และไม่แน่ใจว่าจะรับหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จะต้องสรรหาอีกหลายคน เพราะบางคนยังไม่ตอบรับแต่ขอเวลาคิดก่อน ซึ่งพอดีกับเวลาที่เราไม่ต้องไปคาดคั้น เพราะนายกฯไม่อยู่

     เมื่อถามย้ำว่าได้พูดคุยกับนายมีชัยหรือ ไม่ นายวิษณุกล่าวว่าจะต้องเจอกันอยู่แล้ว บางครั้งจำเป็นต้องพบกัน ก็จะถามว่าจะว่าอย่างไร แต่อาจจะยังไม่ทำตอนนี้ ยังพอมีเวลา ต่อข้อถามว่าหากเจอกับนายมีชัยครั้งนี้จะทักทายหรือจะทาบทาม รองนายกฯกล่าวว่า "ถ้าไม่เคยทักทายก็ต้องทักทาย แต่ถ้าเคยทักทายแล้วก็ต้องทาบทาม ถ้าทาบทามแล้วไม่เอาด้วยก็ต้องทอดทิ้ง เจอครั้งหน้าก็ต้องทาบทามแล้ว จะทักอะไรกันทุกครั้งและ นี่กำลังจะไปทาบทามแล้ว"

เมื่อถามว่าจะได้รายชื่อกรธ.ทั้งหมดภายในสิ้นเดือนก.ย.นี้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวยืนยันว่าแน่นอน

'อ๋อย'ตอกวิษณุชี้ 3-3-3-2 ทำได้

      วันเดียวกัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ โพสต์เฟซบุ๊กตอบนายวิษณุว่าที่พูดเป็นไปได้ขึ้นกับว่าจะทำหรือไม่ ร่างรัฐธรรมนูญ 3 เดือนทำไมจะทำไม่ได้ ประเด็นต่างๆ ก็รู้หมดแล้ว ร่างกันมาเป็นปี ข้อมูล ก็เยอะแยะ ยิ่งร่างแบบไม่ให้ใครเสนอความเห็นเดือนเดียวก็เสร็จ 3 เดือนคือเผื่อแล้วด้วยซ้ำ พอรัฐธรรมนูญใกล้เสร็จ สนช.ก็เริ่มเตรียมร่างกฎหมายลูกไว้ได้ รัฐธรรมนูญเสร็จก็เริ่มร่างกันเลย ก็จะเสร็จเร็วขึ้นอีกมาก ส่วนการ เตรียมการของพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคการเมืองใหม่ ก็ให้เตรียมการได้ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จหรือเมื่อผ่านการลงประชามติแล้วก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้กฎหมายลูกเสร็จเสียก่อน ถ้ากฎหมายลูกออกมาแล้วพรรคการเมืองต้องแก้ไขอะไรก็ ปรับกัน

     นายจาตุรนต์ระบุว่า รู้จักนายวิษณุมานาน เห็นว่าเป็นคนพูดจาฉลาดหลักแหลม รู้จักวิธีอธิบายเรื่องต่างๆ โดยไม่ใช้อารมณ์ แต่ช่วงนี้คงกำลังหัวเสียมาจากการที่ร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำไป ทั้งๆ ที่ได้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด อยากให้ใจเย็นๆ ลงหน่อย ลองนึกถึงวันประชุมครม.แต่ละครั้ง พอประชุมเสร็จครม.ก็กินข้าวกันเลย ไม่เห็นต้องเริ่มหุงข้าวหาปลาหลังการประชุม คือระหว่างครม.ประชุม คนทำกับข้าวเขาก็ทำของเขาไปได้เลยไม่ต้องรอประชุมเสร็จ เรื่องโรดแม็ปก็คล้ายกัน

ไม่นวดเท้าก่อนคิด-กลัวเสียคน

     นายจาตุรนต์ กล่าวว่า โรดแม็ปจะเป็น 6-4-6-4 หรือ 3-3-3-2 ยังไม่สำคัญเท่ากับว่าเวลาร่างจะร่างแบบปิดหรือเปิด ประชาชนจะมีส่วนร่วมหรือไม่ และถ้าร่างแล้วแย่มากๆ อีก อยากให้ผ่านก็จะไม่ผ่านประชามติ หรือหากจงใจร่างเพื่อไม่ให้ผ่านประชามติจะทำอย่างไรจะร่างกันไปไม่รู้จบหรือ นายวิษณุควรจะตอบเรื่องเหล่านี้มากกว่า

      "ที่คุณวิษณุแนะนำให้นวดเท้าก่อนค่อยคิดนั้น ผมคงไม่กล้าทำตาม เพราะคนที่เพิ่ง ทำตามคำแนะนำของคุณวิษณุอย่างไม่ลืมหูลืมตาเพิ่งเสียผู้เสียคนไปอย่างเช่นนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิ การยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมไม่อยากตกอยู่ในสภาพอย่างนั้นอีกคน" นายจาตุรนต์ระบุ

'มาร์ค'เตือน'บิ๊กตู่'ให้ระวังคำพูด

       ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคกล่าวกรณีพล.อ.ประยุทธ์ไปประชุมยูเอ็นที่สหรัฐ ว่าเป็นโอกาสดีที่จะชี้แจงเกี่ยวกับประเทศไทย แต่อยากให้นายกฯระมัดระวังคำพูด เพราะหลายครั้งเหมือนพูดทีเล่นทีจริงกับนักข่าว แต่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าไม่ให้เสรีภาพกับสื่อมวลชน จนสื่อต่างประเทศหยิบไปเป็นประเด็น การเดินทางครั้งนี้มีสื่อมวลชนต่างประเทศจำนวนมากสนใจที่จะสัมภาษณ์ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะชี้แจงให้ชัดเจน รวมถึงชี้แจงกับผู้นำและนักธุรกิจด้วย ส่วนกรณีกลุ่มต่อต้านและกลุ่มสนับสนุนเตรียมไปแสดงออกบริเวณสถานที่ประชุมนั้น เจ้าของประเทศต้องเป็นคนจัดการ ส่วนนายกฯก็ปฏิบัติภารกิจของตนเอง ไม่ต้องกังวล เพราะเป็นเรื่องที่แสดงออกได้ แต่ขออย่าไปทะเลาะหรือทำอะไรผิดกฎหมาย เพราะจะเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของประเทศ

     นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกรอบเวลาโรดแม็ปที่มีการโต้เถียงกันระหว่างนายวิษณุและนาย จาตุรนต์ ว่าตนพูดหลายครั้งแล้วว่าควรมุ่งไปที่สาระของรัฐธรรมนูญ เพราะเวลาหยิบเรื่องลอยๆ มาพูดทำให้เกิดประเด็นความขัดแย้งโดยไม่จำเป็น ยังไม่ทราบเลยว่ากรธ. 21 คนเป็นใครจะมาพูดแทนได้อย่างไรว่าต้องเสร็จกี่เดือน สูตร 6-4-6-4 คือกรอบของกฎหมายว่าอย่าเกินจากนี้ ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่ก็อยู่ที่วิธีการทำงานแต่ละขั้นตอน

แนะกรธ.เอาประชาชนตัวตั้ง

      นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ากรธ.เข้ามาทำงานแล้วเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดิมดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องไปยุ่งเลย ภายใน 2 วันสามารถพิจารณาได้ร้อยกว่ามาตราแล้ว ตรงนี้เป็นเหตุผลว่าจำเป็นต้องทำกันถึง 6 เดือนหรือไม่ แต่ถ้ากรธ.เข้ามาทำงานแล้วพูดว่าจะต้องเริ่มต้นกันใหม่หมดก็อาจจะเป็น 6 เดือน ทุกอย่างต้องเอาเหตุและผลมาว่ากัน ว่าอะไรเหมาะสม และดูจากเนื้อหาสาระ

      นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าอยากให้กรธ.มีความอิสระในการร่างรัฐธรรมนูญระดับหนึ่ง จะทำงานอะไรตามใจใครต้องให้ประชาชนเห็นชอบ การตามใจหรือใครกำหนดธงอย่างไรไม่ได้ช่วยให้กรธ.ทำงานได้ เพราะต้องเป็นคนเอาร่างนี้ไปให้ประชาชนเห็นชอบ การทำงานของกมธ.ยกร่างฯ ชุดที่ผ่านมาน่าจะเป็นบทเรียนสำหรับกรธ. ว่าถ้าทำตามคำขอและประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบด้วย สิ่งที่ทำไปจะสูญเปล่า และหากรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นใหม่ไม่ผ่านประชามติคนที่รับผิดชอบไม่ใช่คสช. แต่คือคนเขียนรัฐธรรมนูญ ดังนั้นกรธ.ทั้ง 21 คนต้องคิด เช่น หากใครไปขออะไรแล้วคุณไปทำ ต้องรับผิดชอบการตัดสินใจตัวเอง ต้องดูความเจ็บปวดของนายบวรศักดิ์เป็นตัวอย่าง ดังนั้นกรธ.ทั้ง 21 คนจะมีความหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับเจ้าตัวแม้จะมีการร้องขอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับคนเขียนว่าจะเขียนอย่างไร

ลั่นส่ง"กษิต-ถวิล"ร่วมเวทีสปท.

       นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงการเสนอรายชื่อนายถวิล ไพรสณฑ์ และนายกษิต ภิรมย์ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ร่วมเป็นสปท.ว่า ยังไม่ทราบว่าบุคคลทั้งสองจะได้รับคัดเลือกหรือไม่ แต่ทั้งสองคนก็แสดงความชัดเจนว่าไม่ติดใจหากในอนาคตพรรคจะส่งลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ เพราะไม่ใช่ตัวแทนทางการของพรรค แต่ที่ตนแนะนำไปเพราะเห็นว่ามีคุณสมบัติในการสนใจในเรื่องปฏิรูป เช่น นายกษิตกว้างขวางในเกือบทุกประเด็น ส่วนนายถวิลก็เชี่ยวชาญด้านการ กระจายอำนาจและปฏิรูปตำรวจ การปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ส่วนกรณีของนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีตส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีชื่อว่าจะไปเป็นสปท.ใน นามกปปส. นายอรรถวิชช์ก็ต้องรู้กติกาของพรรคว่าเป็นอย่างไรด้วยเช่นกัน

ปปช.จ่อชี้มูลจุติเอื้อ 3 จี'ทรู'

      รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)แจ้งว่า จากกรณีกรรมการป.ป.ช.ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริง กล่าวหาให้ถอดถอนนายจุติ ไกรฤกษ์ เมื่อครั้งเป็นรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ปัจจุบันเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง กรณีลงนามสัญญาร่วมดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กับบริษัท ทรู คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) และสัญญาการติดตั้งโครงข่าย 3 จี ระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT กับกิจการร่วมค้าเอสแอล คอนซอเดียม

      ทั้งนี้ องค์คณะไต่สวนได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่นายจุติแล้ว 2 กรณีได้แก่ 1.มีพฤติการณ์ส่อว่าเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มบริษัท ทรู เป็นคู่สัญญาร่วมดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี กับ CAT และ 2.ส่อว่าได้รับผลประโยชน์เพื่อทำให้กลุ่มกิจการร่วมค้า เอสแอล คอนซอเดียม ได้เป็นคู่สัญญาสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี กับทีโอที นั้น โดยผิดฐานส่อทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรม นูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 58 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 นั้น ล่าสุดองค์คณะไต่สวนได้สรุปข้อเท็จจริงในกรณีนี้เสร็จแล้ว และจะนำเสนอต่อที่ประชุมป.ป.ช. พิจารณาลงมติชี้มูลนายจุติในวันที่ 24 ก.ย.นี้

อียูตอกไก่อู-ย้ำไม่ยืดเส้นตายไอยูยู

     วันที่ 23 ก.ย. เว็บไซต์อียูรีพอร์เตอร์ รายงานว่าคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวตอบโต้ต่อกรณีที่พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีอ้างว่าสหภาพยุโรป (อียู) ยืดระยะเวลาให้ทางการไทยดำเนินการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย(ไอยูยู)ต่อไป จากกำหนดเส้นตายเดิมในเดือนต.ค.

     นายเอ็นริโก บรีวิโอ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อ สำนักงานอำนวยการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเล และการประมง คณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่ารายงานเกี่ยวกับการยืดระยะเวลานั้นไม่มีมูลความจริง เนื่องจากคณะกรรมาธิการยังไม่มีการพิจารณากรณีของไทยเพิ่มเติม การเจรจากับทางการไทยยังดำเนินการอยู่ตั้งแต่เดือนเม.ย. ซึ่งทางคณะกรรมาธิการประกาศให้ใบเหลืองแก่ไทยเพื่อเร่งปรับปรุงสถานการณ์ดังกล่าว ก่อนจะถึงกำหนดเส้นตายในเดือนต.ค.

      ทั้งนี้ หากปัญหาการประมงผิดกฎหมายยังไม่คืบหน้า คณะกรรมาธิการยุโรปอาจผลักดันให้ใบแดงกับไทย ซึ่งจะนำไปสู่การคว่ำบาตร ไม่นำเข้าสินค้าประมงทั้งหมดจากประเทศไทย โดยนายกาเบรียล มาโต สมาชิกคณะกรรมาธิการการประมงจากสเปน และสมาชิกสภายุโรป (อีพี) กล่าวสนับสนุนให้ใช้ใบแดงกับไทยถ้าปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข

      ขณะเดียวกัน สมาชิกอาวุโสของสภายุโรปอีกส่วนยังเห็นด้วยกับการให้ใบแดง เพื่อแสดงถึงการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ซึ่งภายใต้นโยบายความร่วมมือระหว่าง อียู และประเทศที่สาม มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย โดยนายเวอร์เนอร์ แลนเก็น สมาชิกสภายุโรปจากเยอรมนี และผู้แทนกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่าประชาธิปไตยและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการสำคัญของอียู รวมถึงเป็นประเด็นที่อียูใช้พิจารณาความร่วมมือและความตกลงด้านการค้าเสรี

ฮิวแมนไรต์จี้ยูเอ็นบีบ'ตู่'คืนปชต.

     วันที่ 23 ก.ย. เว็บไซต์ฮิวแมนไรต์วอตช์ เผยแพร่บทความเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ใช้โอกาสในการประชุมกับผู้นำของไทยในวาระการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ครั้งที่ 70 ที่นครนิวยอร์ก ในการเรียกร้องและกดดันให้รัฐบาลทหารคืนประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน พร้อมแนะนำว่ายูเอ็นจำเป็นต้องกดดันอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย และยุติวิกฤตละเมิดสิทธิมนุษยชน

      นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรต์วอตช์ ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่าประเทศไทยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกไม่ถาวรของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ซึ่งจะจัดการเลือกตั้งในเดือนต.ค.2559 แม้ไทยสัญญาว่าจะทำงานร่วมกับยูเอ็น แต่รัฐบาลทหารกลับสร้างเงื่อนไขพิเศษ ที่จุดชนวนให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ต่างจากโรดแม็ปคืนอำนาจประชาธิปไตยที่ยังไม่สำเร็จเสร็จสิ้น ดังนั้น ที่ประชุมควรเรียกร้องให้ผู้นำไทยยุติการกระทำต่อต้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่และรัฐบาลทหารสามารถดำเนินการตามนโยบายใดๆ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

      บทความ ยังระบุอีกว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ย. ผู้นำไทยกล่าวว่าจะไม่ยอมทนต่อการวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ถ้าไม่รู้จักจำก็จะถูกคุมขังอีกครั้งและอีกครั้ง ซึ่งหลังจากนั้นเพียง 3 วันมีนักข่าวอาวุโสถูกเรียกไปสอบสวน พร้อมกักตัวอยู่นานหลายวัน และตั้งแต่เดือนพ.ค.ปีที่ผ่านมา คสช.เรียกสอบสวนบุคคลมาแล้วกว่า 751 คน ส่วนใหญ่เป็นนักการเมือง นักเคลื่อนไหว สื่อมวลชน จากกรณีวิจารณ์หรือต่อต้านกองทัพและรัฐบาล ซึ่งตามมาตรา 44 กองทัพมีอำนาจสามารถจับกุมและคุมขังได้นาน 7 วันโดยไม่ต้องตั้งข้อหา ไต่สวน หรือมีทนายความ

     บทความยังระบุด้วยว่า ไม่เพียงเท่านี้ รัฐบาลทหารของไทยยังคงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ ซึ่งภายใต้กรอบกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ทางการไทยไม่สมควรส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศที่อพยพหนีออกมา แต่ในวันที่ 9 ก.ค. มีการส่งตัวชาวอุยกูร์ 109 คนกลับไปยังประเทศจีน ทั้งยังพยายามปิดชายแดนไม่รับผู้ลี้ภัยชาว โรฮิงยา ซึ่งอพยพหนีจากการลิดรอนสิทธิมนุษยชน และความยากลำบากของการดำรงชีวิตทั้งในพม่าและบังกลาเทศ

มติก.ศป.ให้"หัสวุฒิ"ออกราชการ

      เมื่อเวลา 22.24 น. วันที่ 23 ก.ย. สำนักงานศาลปกครอง ได้แจกเอกสารผลการประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) โดยเอกสารระบุว่า ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ 18 ก.พ. ได้พิจารณาเรื่อง รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองและประธานศาลปกครองสูงสุดกรณีการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ

       โดยที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฝ่ายข้างมาก เป็นกรณีมีมูลที่อาจเข้าข่ายตามที่กำหนดในข้อ 3 (1) แห่งระเบียบ ก.ศป.ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ.2544 และถึงขั้นที่จะให้ตุลาการศาลปกครองผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง และให้ดำเนินการตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบข้อ 5 วรรคสอง และข้อ 6 วรรคหนึ่ง (4) แห่งระเบียบ ก.ศป.ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 โดยให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อดำเนินการสอบสวนกรณีดังกล่าว ซึ่ง ก.ศป. ได้มีคำสั่ง ก.ศป. ลับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าว

      ในการประชุมก.ศป.วันเดียวกันนี้ ได้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนตามคำสั่ง ก.ศป. ลับ กรณีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ถูกกล่าวหาว่า มีกรณีตามข้อ 3 ของระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 แล้ว มีมติว่า

      "แม้ไม่ปรากฏชัดว่านายหัสวุฒิมอบหมายให้นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง มีหนังสือสองฉบับแจ้งความประสงค์ของนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ว่าจะสนับสนุนพ.ต.ท.ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงกุล รอง ผกก.ป.สน.หัวหมาก ให้ได้รับแต่งตั้งเป็นผกก.ต่อรองผบ.ตร.และผบ.ตร. ตามลำดับ แต่พยานหลักฐานก็รับฟังได้ว่า นายหัสวุฒิ มีส่วนรู้เห็นเป็นใจและรับทราบในกรณีที่นายดิเรกฤทธิ์กระทำการดังกล่าว อันเป็นการกระทำผิดวินัย ฐานไม่รักษาชื่อเสียงของตน และไม่รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย โดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ซึ่งถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่สมควร ตามข้อ 5 และข้อ 11 วรรคหนึ่ง ของประกาศ ก.ศป. เรื่อง วินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง" ในเอกสารระบุ

จึงมีมติโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบกับข้อ 20 ของประกาศ ก.ศป. เรื่อง วินัยแห่งการเป็นตุลาการศาลปกครอง และข้อ 24 วรรคหนึ่ง (2) ของระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครองซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ. 2544 ให้นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ออกจากราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ก.ศป. มีมติ

มท.โยกย้ายรองผวจ.106 ราย

     เมื่อวันที่ 23 ก.ย. นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงนามในคำสั่งที่ 778/2558 ย้ายข้าราชการประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งรองผวจ. 37 ราย 1.นายอโณทัย ธรรมกุล รองผวจ.หนองคาย เป็น รองผวจ.กาฬสินธุ์ 2.นายสิริรัฐ ชุมอุการ รองผวจ.กาฬสินธุ์ เป็น รองผวจ.ขอนแก่น 3.นายชายชาญ เอี่ยมเจริญ รองผวจ.อุดรธานี เป็น รองผวจ.ชลบุรี 4.นายเบญจพล เปรมปรีดา รองผวจ.นครสวรรค์ เป็นรองผวจ.ชัยนาท 5.นายไมตรี ไตรติรานันท์ รองผวจ.ระนอง เป็น รองผวจ.ชุมพร

      6.นายมงคล สุกใส รองผวจ.ลำปาง เป็น รองผวจ.เชียงใหม่ 7.นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ รองผวจ.ยะลา เป็นรองผวจ.ตรัง 8.นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ รองผวจ.อำนาจเจริญ เป็น รองผวจ.นครนายก 9.นายพัลลภ สิงหเสนี รองผวจ.ภูเก็ต เป็น รองผวจ.นครปฐม 10.นายสุรพันธ์ ดิสสะมาน รองผวจ.อุบลราชธานี เป็น รองผวจ.นครราชสีมา

     11.นายสุธี ทองแย้ม รองผวจ.ภูเก็ต เป็น รองผวจ.นนทบุรี 12.นายสมชาย บำรุงทรัพย์ รองผวจ.พังงา เป็น รองผวจ.ประจวบคีรีขันธ์ 13.นายชัยรัตน์ ธาราสันติสุข รองผวจ.น่าน เป็น รองผวจ.ปราจีนบุรี 14.นายภิญโญ ประกอบผล รองผวจ.ระยอง เป็น รองผวจ.ปราจีนบุรี 15.นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ รองผวจ.สตูล เป็น รองผวจ.ปัตตานี

     16.นายฐานุพงศ์ เจริญสุรภิรมย์ รองผวจ.สุโขทัย เป็น รองผวจ.พิษณุโลก 17.นายธวัชชัย รักขนาม รองผวจ.บึงกาฬ เป็น รองผวจ.เพชรบุรี 18.นายไกรสร กองฉลาด รองผวจ.มหาสารคาม เป็น รองผวจ.เพชรบูรณ์ 19.นายเสฐียรพงศ์ มาศิริ รองผวจ.ปราจีนบุรี เป็น รองผวจ.มหาสารคาม 20.นายทรงพล ใจกริ่ม รองผวจ.ตรัง เป็นรองผวจ.ร้อยเอ็ด

      21.นายณรงค์ พลละเอียด รองผวจ.อุดรธานี เป็น รองผวจ.ระนอง 22.นายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ รองผวจ.ตราด เป็น รองผวจ.ระยอง 23.นายสมชัย กมลเทพเทวินทร์ รองผวจ.อุตรดิตถ์ เป็น รองผวจ.ลำปาง 24.นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผวจ.นราธิวาส เป็น รองผวจ.ลำปาง 25.นายชัยภัทร หิรัณยเลขา รองผวจ.สระแก้ว เป็นรองผวจ.เลย

     26.นายจตุพจน์ ปิยัมปุตระ รองผวจ.ระนอง เป็น รองผวจ.ศรีสะเกษ 27.นายมุรธาธีร์ รักชาติเจริญ รองผวจ.ชุมพร เป็น รองผวจ.ศรีสะเกษ 28.นายธวัช ศิริวัธนนุกูล รองผวจ.นครพนม เป็น รองผวจ.สกลนคร 29.นายธนู บุญเลิศ รองผวจ.อุบลราชธานี เป็นรองผวจ.สมุทรปราการ 30.นายสยาม ศิริมงคล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็น รองผวจ.สมุทรปราการ

     31.นายณรงค์ศักดิ์ เฉลิมเกียรติ รองผวจ.นนทบุรี เป็น รองผวจ.สมุทรสาคร 32.นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ รองผวจ.พระนครศรีอยุธยา เป็น รองผวจ.สิงห์บุรี 33.นายสมฤกษ์ บัวใหญ่ รองผวจ.ปราจีนบุรี เป็น รองผวจ.อ่างทอง 34.นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองผวจ.สิงห์บุรี เป็น รองผวจ.อุดรธานี 35.นายธีรวัฒน์ วุฒิคุณ รองผวจ.แม่ฮ่องสอน เป็น รองผวจ.อุตรดิตถ์ 36.นายนิกร สุกใส รองผวจ.ตรัง เป็น รองผวจ.อุบลราชธานี 37.นายพิสุทธิ์ บุษยพรรณพงศ์ รองผวจ.ยโสธร เป็น รองผวจ.อุบลราชธานี

     คำสั่งที่ 779/2558 โอนและแต่งตั้ง รองผวจ. 53 ราย 1.นายสมควร ขันเงิน ปจ.พัทลุง เป็น รองผวจ.กระบี่ 2.นายบรรเจิด อนุเวช ปจ.อ่างทอง เป็นรองผวจ.ชัยนาท 3.นายเลิศพรไชย ไชยฤทธิ์ ปจ.ชุมพร เป็น รองผวจ.ชุมพร 4.นายอาคม สุขพันธ์ ปจ.เชียงราย เป็นรองผวจ.เชียงราย 5.นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ปจ.เชียงใหม่ เป็น รองผวจ.รองเชียงใหม่

      6.นายนิพันธ์ ศิริธร ปจ.ตรัง เป็น รองผวจ.ตรัง 7.นายชาญศักดิ์ ถวิล ผู้ตรวจราชการปค. เป็น รองผวจ.ตราด 8.ว่าที่ร.ต.พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ ปจ.สมุทรสงคราม เป็น รองผวจ.นครนายก 9.นายไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ ปจ.หนองคาย เป็น รองผวจ.นครพนม 10.นายสุวิทย์ คำดี ผอ.สำนักบริหารการปกครองท้องที่ ปค. เป็น รองผวจ.นครราชสีมา

      11.นายอภิสรรค์ สง่าศรี ปจ.ลพบุรี เป็น รองผวจ.นครสวรรค์ 12.นายนรภัทร ปลอดทอง ผอ.กองวิชาการและแผนงาน ปค. เป็น รองผวจ.นครสวรรค์ 13.นายประทีป ศิลปเทศ ปจ.นครสวรรค์ เป็น รองผวจ.นครสวรรค์ 14.นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผอ.สำนักพัฒนาบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น รองผวจ.นราธิวาส 15.นายสุรพร พร้อมมูล ปจ.นราธิวาส เป็น รองผวจ.นราธิวาส

     16.นายวุฒิชัย เสาวโกมุท ผู้ตรวจราชการ ปค. เป็น รองผวจ.น่าน 17.นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ปจ.เลย เป็น รองผวจ.บึงกาฬ 18.นายประภาส รักษาทรัพย์ ปจ.นครราชสีมา เป็น รองผวจ.บุรีรัมย์ 19.นายเรวัต ประสงค์ ปจ.พระนครศรีอยุธยา เป็น รองผวจ.รองพระนครศรีอยุธยา 20.นายสรธร สันทัด ปจ.พะเยา เป็น รองผวจ.พะเยา

     21.นายสกล จันทรักษ์ ปจ.สตูล เป็น รองผวจ.พังงา 22.นายอณุรัฐ ไทยตรง ผู้ตรวจราชการ ปค. เป็น รองผวจ.พัทลุง 23.นายพิษณุ เสนาวิน ผู้ตรวจราชการปค. เป็น รองผวจ.พิจิตร 24.นายรุ่งชัย ใบกว้าง ปจ.กำแพงเพชร เป็น รองผวจ.พิษณุโลก 25.นายกฤษณ์ คงเมือง ปจ.เพชรบูรณ์ เป็น รองผวจ.เพชรบูรณ์

      26.นายโชคดี อมรวัฒน์ ผู้ตรวจราชการปค. เป็น รองผวจ.ภูเก็ต 27.นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ อธิการวิทยาลัยการปกครอง เป็น รองผวจ.ยโสธร 28.นายวีระวัฒน์ วงศ์ว่องไว ปจ.กาฬสินธุ์ เป็น รองผวจ.ยโสธร 29.นายราชิต สุดพุ่ม ปจ.นครศรีธรรมราช เป็นรองผวจ.ยะลา 30.นายธีรวัฒน์ สุดสุข ปจ.ระยอง เป็น รองผวจ.ระยอง

      31.นายณรงค์ ไพศาลทักษิน ปจ.กาญจนบุรี เป็น รองผวจ.ราชบุรี 32.นายรังสรรค์ ตันเจริญ ปจ.สิงห์บุรี เป็น รองผวจ.ลพบุรี 33.นายสาธิต ธรรมประดิษฐ์ ผอ.สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดน เป็น รองผวจ.สงขลา 34.นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ปจ.สมุทรสาคร เป็น รองผวจ.สมุทรสาคร 35.นายวีรัส ประเศรษโฐ ผู้ตรวจราชการปค. เป็น รองผวจ.สระแก้ว

     36.นายธรรมศักดิ์ รัตนธัญญา ปจ.สระแก้ว เป็น รองผวจ.สระแก้ว 37.นายวิษณุ สว่างทรัพย์ ปจ.สุโขทัย เป็น รองผวจ.สุโขทัย 38.นายมนัธสะวัชร์ บุญสมวัฒนวงศ์ ปจ.อำนาจเจริญ เป็น รองผวจ.อำนาจเจริญ 39.นายณรงค์ศักดิ์ พลศักดิ์ ปจ.มุกดาหาร เป็น รองผวจ.อำนาจเจริญ 40.นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ตรวจราชการปค. เป็น รองผวจ.อุดรธานี

      41.นายประมวล มุ่งมาตร ผอ.สำนักพัฒนาทุนและองค์กรการเงินชุมชน พช. เป็นรองผวจ.นครพนม 42.นายสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ ผู้ตรวจราชการ พช. เป็น รองผวจ.พังงา 43.นายธงชัย เจริญพานิชย์กุล ผู้ตรวจราชการพช. เป็นรองผวจ.ระนอง 44.นายดนัย เจียมวิเศษสุข ผอ.สำนักมาตรฐานและส่งเสริมการรังวัดที่ดิน กรมที่ดิน เป็น รองผวจ.นครศรีธรรมราช 45.นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผอ.ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย ปภ. เป็น รองผวจ.ปทุมธานี

     46.นายชยันต์ ศิริมาศ ผอ.ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 ปทุมธานี เป็น รองผวจ.ร้อยเอ็ด 47.นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผอ.สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปภ. เป็น รองผวจ.หนองคาย 48.นายธีรพันธ์ นันทกิจ ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง(ยธ.) เป็น รองผวจ.ประจวบคีรีขันธ์ 49.นายสรเดช สุนทรารชุน ผู้ตรวจราชการ ยธ. เป็นรองผวจ.สตูล 50.นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ตรวจราชการ ยธ. เป็น รองผวจ.สมุทรสงคราม

     51.นายวิรัตน์ ทำนุราศรี ผู้ตรวจราชการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็น รองผวจ.ประจวบคีรีขันธ์ 52.นายศรีพงศ์ บุตรงามดี ผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สถ. เป็น รองผวจ.สตูล 53.นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานท้องถิ่น สถ. เป็น รองผวจ.อุดรธานี

      คำสั่งที่ 780/2558 แต่งตั้งรองผวจ. 16 ราย 1.นายกฤษณ์ ธนาวณิช ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. เป็น รองผวจ.เชียงใหม่ 2.นายวสันต์ ชำนาญจุ้ย หน.สนจ.สุโขทัย เป็น รองผวจ.ตาก 3.นายพงศ์เทพ ไข่มุกด์ หน.สนจ.ปัตตานี เป็น รองผวจ.นครศรีธรรมราช 4.นายชลธี ยังตรง ผอ.สำนักนโยบายและแผน สป. เป็น รองผวจ.นนทบุรี 5.นายกมลโลจฒน์ เชียงวงค์ หน.สนจ.แพร่ เป็น รองผวจ.น่าน

     6.นายชัยธวัช เนียมศิริ หน.สนจ.บึงกาฬ เป็น รองผวจ.บึงกาฬ 7.นายนพดล ไพฑูรย์ หน.สนจ.บุรีรัมย์ เป็น รองผวจ.บุรีรัมย์ 8.นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา หน.สนจ.สงขลา เป็น รองผวจ.พระนครศรีอยุธยา 9.นายบุญเวทย์ ศรีพวงใจ หน.สนจ.พิจิตร เป็น รองผวจ. พิจิตร 10.นายประเจียด อักษรธรรมกุล หน.สนจ.ภูเก็ต เป็น รองผวจ.ภูเก็ต

      11.นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี หน.สนจ.สุพรรณบุรี เป็น รองผวจ.ภูเก็ต 12.นายยงยุทธ สิงห์ธวัช หน.สนจ.อุตรดิตถ์ เป็น รองผวจ.มุกดาหาร 13.นายวิรุฬ พรรณเทวี หน.สนจ.เชียงใหม่ เป็น รองผวจ.แม่ฮ่องสอน 14.นายอำพล อังคภาภรณ์กุล ผอ.กจ.สป. เป็น รองผวจ.สมุทรสงคราม 15.นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ หน.สนจ.นครปฐม เป็น รองผวจ.สระบุรี 16.นายณรงค์ รักร้อย หน.สนจ.นครราชสีมา เป็น รองผวจ.สุรินทร์ ทั้งนี้ คำสั่งทั้งหมดมีผลวันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป

 

'วิษณุ'รับทาบทามเอง เชิญ'มีชัย'ย้ำสิ้นกย.ได้ 21 กรธ.แน่ อ๋อยโต้-ไม่ไปนวดเท้า ร่างรธน. 3 เดือนทำได้ บิ๊กตู่บินร่วมถกยูเอ็น ฮิวแมนไรต์สจี้กดดัน ทูตมะกันถึงไทยแล้ว

    'วิษณุ'จำแนก 3 กลุ่มคว่ำร่าง รธน. รับแล้วเตรียมทาบ'มีชัย' 'จาตุรนต์'แจงร่าง รธน. 3 ด. สวนไม่กล้านวดเท้าตาม'วิษณุ'แนะ นายกฯบินมะกันร่วมวงถกยูเอ็น

  • มติชนออนไลน์ :
  • @ นายกฯบินมะกันร่วมถกยูเอ็น

          เมื่อวันที่ 23 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางเข้าปฏิบัติหน้าที่ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลตามปกติตั้งแต่เวลา 09.30 น. มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเดินทางมารอเข้าพบ อาทิ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คาดว่าจะมีการรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงโดยเฉพาะความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ในช่วงนายกรัฐมนตรีมีภารกิจร่วมประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ระดับผู้นำ เพื่อรับรองวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ.2015 และการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ระหว่างวันที่ 23 กันยายน - 1 ตุลาคมนี้ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเวลาประมาณ 23.50 น. นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

    @ แพทย์ยันอาการป่วยดีขึ้น

         ส่วนกรณี พล.อ.ประยุทธ์มีอาการป่วยเป็นไข้หวัด เจ็บคอ จนแพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎต้องมาฉีดยาและให้ยาเพื่อบรรเทาอาการไปเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมานั้น เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. วันเดียวกันทีมแพทย์จากโรงพยาบาลพระมงกุฎได้เดินทางเข้าตรวจอาการนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า "อาการของนายกรัฐมนตรีดีขึ้นแล้ว วันนี้แค่มาตรวจอาการเฉยๆ ไม่มีอะไร" 

    @ "มาร์ค"เตือน"บิ๊กตู่"ระวังคำพูด 

        นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปประชุมที่สหประชาชาติว่า อยากให้นายกฯระมัดระวังคำพูด เพราะหลายครั้งเหมือนพูดทีเล่นทีจริงกับนักข่าวแต่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในต่างชาติว่าไม่ให้เสรีภาพกับสื่อมวลชนจนสื่อต่างประเทศหยิบไปเป็นประเด็น การเดินทางครั้งนี้มีสื่อมวลชนต่างประเทศจำนวนมากสนใจจะสัมภาษณ์นายกฯ เป็นโอกาสที่ดีจะชี้แจงให้ชัดเจนกับผู้นำและนักธุรกิจด้วย ส่วนเรื่องโรดแมปขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกฯ ว่าจะพูดหรือไม่ 

         หากมั่นใจก็จะประกาศได้ แต่ถ้าประกาศแล้วทำไม่ได้จะส่งผลเสียมากกว่า ดังนั้นคิดว่านายกฯคงพูดได้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญชั่วคราวเท่านั้น ส่วนกรณีกลุ่มต่อต้านและกลุ่มสนับสนุนเตรียมไปแสดงออกบริเวณสถานที่ประชุมนั้น เจ้าของประเทศต้องจัดการ ส่วนนายกฯก็ปฏิบัติภารกิจของตนเอง ไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องนี้ เรื่องแสดงออกได้ แต่ขออย่าไปทะเลาะหรือทำอะไรผิดกฎหมาย เพราะจะเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของประเทศ 

    @ "ปวิน"โพสต์จัดกระเป๋าไปยูเอ็น

         นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กกรณีจะไปร่วมชุมนุมหน้าโรงแรมที่ประชุมยูเอ็นว่า "ด่าผมออกทีวีว่าคนเฮงซวย แถมบอกว่า ไม่กลัวคนอย่างผม แต่ก็ใช้ลิ่วล้อสื่อ เขียนวิงวอนให้ผมอย่าไปประท้วง บอกว่าจะทำให้ประเทศเสียชื่อ แต่ไม่แตะประเด็นรัฐประหารทำให้ไทยชื่อเหม็นตั้งแต่แรก แถมถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติ ไม่กลัวครับ ไม่กลัว แต่พฤติกรรมทั้งหมดชี้ชัดๆ ว่า แค่เห็นรูปผม คุณก็ขาสั่น ผมมีอิทธิพลกับรัฐบาลของคุณมากแค่ไหน จัดกระเป๋าเตรียมไปนิวยอร์กต่อ"

    @ "ฮิวแมนไรต์ส"จี้ยูเอ็นถาม"บิ๊กตู่"

        วันเดียวกัน เว็บไซต์ของฮิวแมนไรต์สวอตช์ เผยแพร่รายงานข้อเรียกร้องของกลุ่มฮิวแมนไรต์สวอตช์ต้องการให้บรรดาผู้นำเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กดดัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเร่งคืนอำนาจประชาธิปไตยให้แก่พลเรือน พล.อ.ประยุทธ์มีกำหนดจะขึ้นพูดในที่ประชุมยูเอ็นจีเอ วันที่ 29 กันยายนนี้ 

         นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการของฮิวแมนไรต์สวอตช์ ประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า ผู้นำรัฐบาลทหารของไทยควรจะได้รับการต้อนรับอย่างสมน้ำสมเนื้อในที่ประชุมยูเอ็น ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายของรัฐบาลทหาร ผู้นำในที่ประชุมยูเอ็นจีเอควรจะใช้การพบปะกับ พล.อ.ประยุทธ์เพื่อเร่งให้รัฐบาลทหารยุติการกดขี่และฟื้นฟูประชาธิปไตยที่ปกครองโดยพลเรือนโดยเร็ว

         "บรรดาผู้นำโลกไม่ควรจะมองข้ามเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนของไทย ควรจะหยิบยกเรื่องความห่วงกังวลเรื่องนี้ขึ้นมาพูด จะช่วยพลิกโฉมหน้าวิกฤตสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยให้กลับมาอยู่ในเส้นทางที่จะนำไปสู่การปกครองของพลเรือนอย่างเป็นประชาธิปไตย" นายอดัมส์กล่าว

    @ "บิ๊กป๊อก"เห็นชื่อกรธ.แล้ว

        พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีนายกรัฐมนตรีให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเสนอรายชื่อบุคคลจะมาเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อเสนอชื่อให้กับนายกฯ จะเป็นข้าราชการ อดีตข้าราชการมีความรู้ด้านกฎหมาย เมื่อถามถึงรายชื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ได้เห็นบ้างบางส่วนแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ต้องรอให้เสนอนายกฯพิจารณาก่อน

         เมื่อถามถึงกรณีจะมีมวลชนมาชุมนุมต่อต้านและสนับสนุนนายกรัฐมนตรีระหว่างร่วมการประชุมยูเอ็น พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า อยากให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเป็นไปด้วยดี ไม่มีความขัดแย้งแบบไม่มีเหตุผล เพราะที่ผ่านมาทุกฝ่ายรู้ดีว่าประเทศไทยต้องได้รับการแก้ปัญหา ดังนั้นไม่ควรเอาประเด็นความขัดแย้งภายในออกสู่นอกประเทศ

    @ "วิษณุ"แจงสปช.3 กลุ่มคว่ำรธน.

        นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการตั้งคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์สาเหตุร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่า อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และคณะทำงานมีจำนวนไม่มาก เพียง 3-4 คน คนประเมินไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพราะคงไม่ประเมินจากความรู้สึกอยู่แล้ว แต่จะต้องเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์จากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ว่าทำไมถึงโหวตไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ บางคนส่งรายงานเบื้องต้นให้ตนแล้ว ระบุว่าผู้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกจะอย่างไรก็ไม่ชอบ อีกกลุ่มอาจมีเหตุผลทางวิชาการ ไม่ชอบเรื่องนั้นเรื่องนี้ เช่น ไม่ชอบ นายกรัฐมนตรีคนนอก ไม่ชอบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ (คปป.) หรือเรื่อง ส.ว.แต่งตั้ง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งชอบทั้งหมด เพียงแต่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง แต่อยากให้รอไปก่อนเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น และเมื่อได้ข้อสรุปทั้งหมดก็จะนำผลรายงานไปยัง ครม. ก่อนส่งให้ กรธ.ต่อไป 

    @ รับแล้วเตรียมทาบ"มีชัย"ปธ.กรธ.

         เมื่อถามถึงกรณีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิก คสช. มีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้การเข้ารับตำแหน่งประธาน กรธ.ว่า ยังไม่ทราบว่ามีการปฏิเสธและยังไม่แน่ใจว่าจะมีการรับหรือไม่ อย่างไรก็ตามจะต้องมีการสรรหาอีกหลายคน เพราะบางคนก็ยังไม่ตอบรับ แต่ขอเวลาคิดก่อน ก็พอดีกับเวลาที่เราไม่ต้องไปคาดคั้น เพราะนายกรัฐมนตรีไม่อยู่

         เมื่อถามว่า จะพูดคุยกับนายมีชัยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า จะต้องเจอกันอยู่แล้ว จำเป็นจะต้องพบกันอยู่ดีว่าจะว่าอย่างไร แต่อาจจะยังไม่ทำตอนนี้ เพราะยังพอมีเวลา

         เมื่อถามว่า หากเจอกับนายมีชัยครั้งนี้ จะทักทายหรือทาบทาม รองนายกฯกล่าวว่า "ถ้าไม่เคยทักทาย ก็ต้องทักทาย แต่ถ้าเคยทักทายแล้วก็จะต้องทาบทาม แล้วถ้าทาบทามแล้วไม่เอาด้วย ก็ต้องทอดทิ้ง"

         เมื่อถามย้ำว่า เจอครั้งหน้าก็ต้องทาบทามแล้วใช่หรือไม่ เพราะทักทายไปแล้ว นายวิษณุกล่าวยอมรับว่า "ก็ใช่สิ จะทักอะไรกันทุกวันเล่า กำลังจะไปทาบทามแล้ว" เมื่อถามว่าจะได้รายชื่อ กรธ.ทั้งหมดภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า แน่นอน 

    @ "จาตุรนต์"โต้"วิษณุ"ร่างรธน. 3 ด.

           นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ตอบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่าที่พูดเป็นไปได้ ขึ้นกับว่าจะทำหรือไม่ ร่างรัฐธรรมนูญ 3 เดือน ทำไมจะทำไม่ได้ ประเด็นต่างๆ ก็รู้หมดแล้ว ร่างกันมาเป็นปี ข้อมูลก็เยอะแยะ ยิ่งร่างแบบไม่ให้ใครเสนอความเห็นเดือนเดียวก็เสร็จ 3 เดือน คือเผื่อแล้วด้วยซ้ำ พอรัฐธรรมนูญใกล้เสร็จสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เริ่มเตรียมร่างกฎหมายลูกไว้ได้ พอร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก็เริ่มร่างกันเลยเสร็จเร็วขึ้นอีกมาก ส่วนการเตรียมการของพรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคการเมืองใหม่ก็ให้เตรียมได้ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ หรือเมื่อผ่านการลงประชามติแล้วก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้กฎหมายลูกเสร็จเสียก่อน ถ้ากฎหมายลูกออกมาแล้วพรรคการเมืองต้องแก้ไขอะไรก็ปรับกัน

         "ผมรู้จักคุณวิษณุมานาน เป็นคนพูดจาฉลาดหลักแหลม รู้จักวิธีอธิบายเรื่องต่างๆ โดยไม่ใช้อารมณ์ แต่ช่วงนี้คุณวิษณุคงกำลังหัวเสียมาจากการร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำไป ทั้งๆ ท่านเองก็ได้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด อยากให้ใจเย็นๆ ลงหน่อย" นายจาตุรนต์ระบุ

    @ สวนไม่กล้านวดเท้าตามแนะ

         นายจาตุรนต์ระบุอีกว่า ลองนึกถึงวันประชุม ครม.แต่ละครั้ง พอประชุมเสร็จ ครม.ก็กินข้าวกันเลย ไม่เห็นต้องเริ่มหุงข้าวหาปลาหลังการประชุม คือ ระหว่าง ครม.ประชุม คนทำกับข้าวเขาก็ทำของเขาไปได้เลย ไม่ต้องรอประชุมเสร็จเรื่องโรดแมปก็คล้ายกัน อย่างไรก็ตาม โรดแมปจะเป็น 6-4-6-4 หรือ 3-3-3-2 ยังไม่สำคัญเท่ากับว่าเวลาร่างจะร่างแบบปิดหรือเปิด ประชาชนจะมีส่วนร่วมหรือไม่ และถ้าร่างแล้วแย่มากๆ อีก อยากให้ผ่านก็จะไม่ผ่านประชามติ หรือหากจงใจร่างเพื่อไม่ให้ผ่านประชามติจะทำอย่างไร จะร่างกันไปไม่รู้จบหรือ นายวิษณุควรจะตอบเรื่องเหล่านี้มากกว่า

         "สำหรับที่คุณวิษณุแนะนำให้นวดเท้าก่อนค่อยคิดนั้น ผมคงไม่กล้าทำตามเพราะคนเพิ่งทำตามคำแนะนำของคุณวิษณุ เช่น นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ผมไม่อยากตกอยู่ในสภาพอย่างนั้นอีกคน" นายจาตุรนต์กล่าว

    @ "มาร์ค"แนะอย่าพูดแทนกรธ. 

        นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปชป. กล่าวถึงเรื่องกรอบเวลาของโรดแมปที่มีการโต้เถียงกันระหว่างนายวิษณุและนายจาตุรนต์ว่า ได้พูดหลายครั้งแล้วว่าควรมุ่งไปที่สาระของรัฐธรรมนูญ เพราะเวลาหยิบเรื่องลอยๆ มาพูด ทำให้เกิดประเด็นขัดแย้งโดยไม่จำเป็น ยังไม่ทราบเลยว่า กรธ. 21 คน เป็นใคร จะมาพูดแทนได้อย่างไรว่าจะต้องเสร็จกี่เดือน สูตร 6-4- 6-4 คือกรอบของกฎหมายว่าอย่าเกินจากนี้ ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่ก็อยู่ที่วิธีการทำงาน ถ้า กรธ.เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับเดิมดีอยู่แล้วก็ไม่ต้องไปยุ่งเลย ภายใน 2 วันก็สามารถพิจารณาได้ร้อยกว่ามาตราแล้ว เป็นเหตุผลว่าจำเป็นจะต้องทำกันถึง 6 เดือนหรือไม่ แต่ถ้า กรธ.เข้ามาทำงานแล้วพูดว่าจะต้องเริ่มต้นกันใหม่หมด อาจจะเป็น 6 เดือน ต้องดูจากเนื้อหาสาระ ส่วนเรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปรองดองและการปฏิรูปประเทศ (คปป.) หากจะให้มีต้องดูว่าเป็นแบบไหน อำนาจหน้าที่เป็นอย่างไร ผมเป็นคนหนึ่งคัดค้าน คปป.แต่ไม่ปฏิเสธแนวคิดบอกว่าอาจต้องมีกลไกสามารถระงับยับยั้งหรือถ่วงดุลไม่ให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่คนจะมาทำตรงนี้ต้องมีที่มาที่ไปรับกันได้ ไม่ปฏิเสธว่าในสถานการณ์คับขันอาจจะต้องใช้อำนาจพิเศษบางอย่าง เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความเสียหาย แต่ต้องไม่ใช่ทำกลไกถาวรในลักษณะรัฐซ้อนรัฐ

    @ จี้"อรรถวิชช์"ยอมรับกติกา

         นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการเสนอรายชื่อ นายถวิล ไพรสณฑ์ และนายกษิต ภิรมย์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค ปชป. ร่วมเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่า ยังไม่ทราบว่าบุคคลทั้งสองจะได้รับคัดเลือกหรือไม่ แต่ทั้งสองคนก็แสดงความชัดเจนว่าไม่ติดใจหากในอนาคตพรรคจะส่งลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ เพราะไม่ใช่ตัวแทนทางการของพรรค แต่แนะนำไปเพราะเห็นว่ามีคุณสมบัติสนใจเรื่องปฏิรูป เช่น นายกษิตกว้างขวางในเกือบทุกประเด็น ส่วนนายถวิลเชี่ยวชาญด้านการกระจายอำนาจและปฏิรูปตำรวจ รวมถึงการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น แม้จะเป็นแค่ 2 เสียงในจำนวน 200 คน ใน สปท. แต่ถือเป็นเวทีในการระดมความเห็น ยังไม่ทราบว่า สปท.จะมีรูปแบบอย่างไรและมีวาระเท่าไหร่ หากเข้าไปแล้วเห็นว่าไม่เกิดการปฏิรูปจริงก็ขึ้นอยู่กับทั้งสองคนจะตัดสินใจ ส่วนกรณีนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม. มีชื่อจะไปเป็น สปท.ในนาม กปปส.นั้น นายอรรถวิชช์ก็ต้องรู้กติกาของพรรคเช่นกัน

    @ "วรชัย"ชี้ไม่ร่วมสปท.สิทธิส่วนตัว 

         นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายกฯ ระบุถึงพรรคและนักการเมืองหากไม่เข้าร่วม สปท.อย่ามาบอกว่าไม่เห็นด้วยในภายหลังว่า บทบาทหน้าที่ สปท.มีเพียงการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการ หากเสนอแนะไปแล้วนายกฯ หรือหน่วยงานราชการไม่สนใจ ไม่เห็นด้วย สปท.จะเป็นเพียงแค่เสือกระดาษหรือไม่ ที่สำคัญ สปท.มาจากการแต่งตั้งของนายกฯ เป็นรัฏฐาธิปัตย์ แล้วนักการเมืองที่มาตามระบอบประชาธิปไตยคนไหนจะกล้าทรยศประชาชนเพื่อไปรับใช้ระบอบเผด็จการ ดังนั้นการไม่เข้าร่วม สปท.ถือเป็นสิทธิส่วนตัว แต่ก็ควรเปิดโอกาสให้นักการเมืองได้แสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะผ่านสื่อต่อไป อย่าตีกรอบห้ามพูด หากอะไรเป็นประโยชน์ รัฐบาลก็สามารถรับฟังและนำไปใช้ได้ หลายความคิดเห็นย่อมดีกว่าความคิดเห็นเดียว

    @ "กล้านรงค์"เผยได้กรธ.5 ต.ค.นี้

        ที่รัฐสภา นายกล้านรงค์ จันทิก ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวระหว่างการประชุมคณะ กมธ.โดยขอให้แต่ละคณะอนุ กมธ. ประกอบด้วย คณะอนุ กมธ.ด้านระบบการเลือกตั้งและพรรคการเมือง คณะอนุ กมธ.ด้านการเมือง และคณะอนุ กมธ.ด้านองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เร่งหาข้อเสนอแนะเนื้อหาสาระร่างรัฐธรรมนูญทั้งในประเด็นที่มาของ ส.ว.ที่มานายกฯ รวมถึงการมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและความปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เพื่อให้ทันการเริ่มร่างรัฐธรรมนูญ โดย กรธ. 21 คน จะจัดตั้งขึ้นภายในวันที่ 5 ตุลาคมนี้ ขณะเดียวกัน สนช.ยังมีบทบาทต้องพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ คาดว่าจะเข้าสู่ สนช. 13 ฉบับ เกี่ยวข้องกับ กมธ.การเมือง 8 ฉบับคือ ร่าง พ.ร.บ.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน

    @ ศาลทหารนัด"อ๋อย"ฟังคำสั่ง 28 ก.ย. 

        นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการดำเนินคดีในศาลทหาร เมื่อเทียบกับกรณีนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ที่ถูกปรับ 500 บาท ฐานไม่ไปรายงานตัวว่า คดีของ บก.ลายจุดตำรวจแยกไปดำเนินคดี ของ บก.ลายจุดคุมตัวหลังตน 1 วัน คงได้ศึกษาอะไรต่างๆ มากกว่า ข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และประกาศให้ขึ้นศาลวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 คงเห็นว่าชัดเจนจึงแยกไปดำเนินการ เป็นไปตามขั้นตอนปกติของศาลพลเรือน แต่คำสั่งของตน วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ตำรวจไม่ได้แยกไปดำเนินการ วันที่ 27 พฤษภาคม 2557 เอาตัวตนไปค่าย วันรุ่งขึ้นก็เอามาที่กองปราบฯ แล้วตั้งข้อหา 116 จากข้อความที่ตนได้พูดแจงกรณีไม่ไปรายงานตัว และตอนเข้าไปอยู่ในคุก ก็ตั้งข้อหาเพิ่ม คือ พ.ร.บ.คอมพ์ ตนได้ร้องไปทั้ง 2 ส่วนว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ส่วนข้อหาอื่นๆ ได้ร้องไปเหมือนกันว่าเหตุเกิดวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 แต่คำสั่งของ คสช. ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 มีข้อความระบุว่า ยกเว้นคดีในพื้นที่ความมั่นคง และวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2557 นั้น กทม.ยังอยู่ใน พ.ร.บ.ความมั่นคงของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คสช.เพิ่งยกเลิกเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 แต่บอกให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป เป็นการประกาศยกเลิกย้อนหลัง ศาลทหารพิจารณาคำร้องของตนแล้วเห็นว่าในข้อหาไม่มารายงานตัวให้ไปขึ้นศาลพลเรือน ส่วนข้อหาอื่นคือ 116 และ พ.ร.บ.คอมพ์นั้นให้ไปศาลทหาร ได้ส่งคำร้องของตนและคำสั่งของเขาไปที่ศาลอาญา คิดว่าเรื่องน่าจะพิจารณาเสร็จแล้ว ศาลทหารจึงสั่งให้ตนไปฟังคำสั่งในวันที่ 28 กันยายนนี้ หากทั้ง 2 ศาลเห็นตรงกันก็เป็นไปตามนี้ แต่หากเห็นต่างกันก็จะต้องส่งเรื่องไปยังองค์กรชี้ขาดระหว่างศาล