ดันทำ'ประชามติ'รธน. วัดใจคสช. กมธ.-วิปสปช.เห็นพ้อง ต้อง 11.7 ล.เสียงถึงผ่าน แห่ค้านเลื่อนเลือกตั้ง 2 ปี 'วิษณุ'ชี้บรรเจิดไปเรื่อย วุฒิสารยันไม่ยุบกำนัน เด็กจิ๋วสวนป้อมระแวง

 


14Politic       กมธ.ยกร่างฯ-วิป สปช. ประสานเสียงไฟเขียวทำประชามติร่าง รธน. 'บวรศักดิ์'โยน ครม.-คสช.ตัดสินรูปแบบ รุมค้านแนวคิดรอปฏิรูปก่อน 2 ปีค่อยเลือกตั้ง หวั่นครหาสืบทอดอำนาจ 'หม่อมอุ๋ย'ปัดต่อรองเด้ง'อารีพงศ์'

 

 

      มติชนออนไลน์ : รำลึกเสธ.แดง - น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) วางดอกไม้และจุดเทียนรำลึกครบรอบ 5 ปีการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง บิดา ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลุมพินี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม

 

 

@ "บิ๊กตู่"ย้ำทำประชามติต้องแก้รธน.

 

      เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวเปิดงานวันเกษตรกรตอนหนึ่งว่า "บางประเทศเขาไม่มีรัฐธรรมนูญ แต่เรามี เขียนมา 19 ฉบับแล้ว เขียนแล้วเขียนอีก แล้วฉบับปัจจุบันจะเละอีกหรือเปล่าก็ยังไม่รู้เลย แล้วพอใจหรือไม่ เขาเขียนให้ประชาชนเป็นใหญ่ ขอให้ทุกคนใส่ใจและดูร่างรัฐธรรมนูญกำลังจะเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก ดูว่าเราจำเป็นต้องปฏิรูปหรือไม่ การปฏิรูปทั้ง 11 ข้อตามที่ คสช.ระบุไว้จะเป็นแนวทางหลักเพื่อแก้ปัญหาอื่นๆ ทุกวันนี้ต่างประเทศไม่ค่อยถามถึงเรื่องประชาธิปไตยแล้ว ถามเพียงว่าประเทศไทยจะค้าขายอะไรกับเขา บอกไปว่าทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่ได้เขียนไว้ว่าจะต้องทำประชามติไว้ ถ้าจะทำประชามติต้องไปเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญกันมา แม่น้ำ 3-4 สายไปเสนอมา รัฐบาลจะเสนอ สนช. และ สนช.ก็จะแก้รัฐธรรมนูญ แต่คงไม่แก้แบบเดิม ทำให้ถูกฟ้องร้องกันเหมือนที่ผ่านมา ฉะนั้นถ้าอยากทำก็ไปแก้มา รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ เข้าใจตรงนี้บ้าง

 

 

@ ถามทุกวัน-ไม่ตอบเรื่องประชามติ 

 

      พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ถามว่าประเทศไทยจะเริ่มใช้รัฐธรรมนูญเมื่อไหร่ ก็ต้องบอกว่าเมื่อมีการโปรดเกล้าฯลงมา แต่เวลานี้ยังไม่ถึงตอนนั้น เพราะต้องผ่านการพิจารณาหลายขั้นตอน ได้มีการแสดงความคิดเห็นออกไปจากหลายส่วน ส่วนการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญนั้น อยู่ที่กรรมาธิการยกร่างฯ คสช.ไม่ได้สั่งการ ไม่สามารถสั่งล้มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้หากไม่ผ่าน ก็ต้องร่างใหม่ จะทำประชามติหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง วันนี้ถามอยู่ได้ว่าจะทำหรือไม่ อย่างไร ถามกันอยู่ได้ อะไรกันนักหนา นักข่าวถามทุกวันจนถึงวันนี้ รู้สึกรำคาญและจะไม่ตอบอีกแล้ว เอาเวลามาคิดเรื่องการบริหารประเทศดีกว่า การเลือกตั้งก็ดี หากเลือกแล้วได้นักการเมืองที่ดีมีจริยธรรม ทุกอย่างก็จบ จะไม่มีการถกเถียงกันอีก แต่วันนี้มีไหมคนอย่างนั้น อย่างวันนี้บางคนบอกว่าไม่ชอบนักการเมืองและไม่อยากเลือกตั้ง แต่ตนคิดว่าทุกคนต้องออกมาเลือกตั้งให้หมด ที่สำคัญคืออย่าให้นักการเมืองชี้นำเราได้ อย่าไปรับเงินอีก มีอยู่นะ ที่รับเช้ารับบ่าย เพราะจะยากดีมีจนอย่างไรศักดิ์ศรีของเราก็มีอยู่แล้ว 

 

 

@ รุมค้านยืดโรดแมป 2 ปีวุ่นวาย

 

       สำหรับ เรื่องที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายสิระ เจนจาคะ และนายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา เสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 308 หลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ให้จัดทำประชามติ เพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศ 2 ปี ก่อนจัดการเลือกตั้งนั้น นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย ดูแล้วมากเกินไป ทำอะไรให้จบเร็วก็ดี ถ้ายืดเยื้อมากไปจะเป็นที่ครหาได้ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาปฏิรูป 2 ปี หรือทำกฎหมายลูกให้เสร็จสมบูรณ์ ร่างรัฐธรรมนูญออกมาให้ดีที่สุดในทีเดียว เป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ต้องมาสานต่อการปฏิรูปอยู่แล้ว ถ้ารัฐธรรมนูญออกมาไม่เป็นที่ยอมรับแล้วยังมายืดอีก 2 ปี เพื่อปฏิรูปและออกกฎหมายลูก จะยิ่งเกิดปัญหาตามมาไม่จบ เลือกตั้งเสร็จก็ต้องมาขอแก้รัฐธรรมนูญกันอีก จะวุ่นวายกลายเป็นเรื่องใหญ่ 

 

นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวว่า การเสนอเรื่องนี้ต้องระมัดระวัง อาจถูกมองว่ามีเจตนาสืบทอดอำนาจให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งนานขึ้น จึงไม่ควรยื่นแปรญัตติในลักษณะนี้ ให้เป็นหน้าที่ของ คสช.และ ครม.ประเมินสถานการณ์ว่าจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปหรือไม่ ไม่เกี่ยวข้องกับ สปช.และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญเลย ส่วนการประชุม สนช.เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วันที่ 15 พฤษภาคมนี้ ความเห็น สนช.เสนอ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญพยายามให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกประเด็นในนาม สนช. แต่หากสมาชิก สนช.เห็นต่างกันหรือไม่สามารถตกลงกันได้ อาจใช้วิธียกมือลงมติในห้องประชุม แต่คงไม่ถึงขั้นต้องลงมติเสียบบัตรลงมติอย่างเป็นทางการ 

 

 

@ "วิษณุ"ห่วงกมธ.ยกร่างฯแก้ไม่ทัน 

 

       นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการรวบรวมความเห็นหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญว่า ความเห็นจากกระทรวงต่างๆ ส่งความเกือบครบแล้ว นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่น เช่น องค์กรอิสระ ประชาชน พระ นักวิชาการ ส่งความเห็นมาด้วย ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะที่ดี อย่างไรก็ตามรู้สึกเป็นห่วง เนื่องจาก กมธ.ยกร่างฯ มีเวลา 60 วันในการแก้ไข หากมีการขอแปรญัตติมาก กมธ.ยกร่างฯจะไม่สามารถแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในกำหนด ดังนั้นอาจจะต้องสอบถามว่ามีส่วนใดที่รัฐบาลสามารถช่วยเหลือได้ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อขยายเวลาในการแปรญัตติของ กมธ.ยกร่างฯ แต่ก็จะไม่ขยายเวลาออกไปมาก เพราะจะทำให้ทุกอย่างนั้นยืดเวลาออกไป

 

 

@ แย้มตัดองค์กรอิสระใหม่ออก

 

เมื่อถามถึงการตัดเนื้อหาในร่างฯที่ยาวเกินไป นายวิษณุกล่าวว่า ครม.จะส่งความเห็นเรื่องดังกล่าวไปยัง กมธ.ยกร่างฯ แต่จะไม่ร่างไปให้ เพราะถ้าหากร่างไปคนอาจจะคิดว่ามีพิมพ์เขียว จะให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว เช่น ต้องการให้ตัดสมัชชา หรือคณะกรรมการขับเคลื่อนๆ ออกไป เพราะจะก่อให้เกิดปัญหา และต้องการให้เขียนรัฐธรรมนูญให้มีความชัดเจน อย่างไรก็ตามได้จัดเป็นหมวดหมู่ก่อนส่งไปยัง กมธ.ยกร่างฯ ประกอบด้วย 1.ควรเขียนรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เพราะอาจก่อให้เกิดการตีความ และทะเลาะกัน เนื่องจากอ่านแล้วไม่เข้าใจ 2.ควรตัดเนื้อหาบางส่วนออกไป 

 

โดยนำไปใส่ในกฎหมายลูกแทน เพราะการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญจะแก้ไขลำบาก 3.มีบางหลักการในร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ควรจะมีอยู่ เช่น สภาหรือสมัชชาต่างๆ เพราะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรัฐบาล เปลืองงบประมาณ 4.ต้องเปลี่ยนใหม่ในบางเรื่อง บางประเด็น เชื่อว่า กมธ.ยกร่างฯจะเห็นด้วยในบางประเด็น เพราะทั้ง 36 คน ความเห็นไม่ตรงกันทั้งหมด

 

 

@ ยันรบ.ไม่กดดันปมประชามติ 

 

เมื่อถามว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะเปิดอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะมีความเห็นเรื่องการทำประชามติด้วย จะเป็นการกดดันรัฐบาลหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องทำประชามติยังเป็นเรื่องลอยๆ อยู่ ใครจะเสนอให้ทำประชามติบอกมาที่รัฐบาลได้ ไม่ได้กดดัน เพราะรัฐบาลไม่สามารถออกตัวได้ว่าอยากทำ เนื่องจากคนอาจจะมองว่าอยากอยู่ต่อ อีกทั้งการทำประชามติยังมีต้นทุน ใช้งบประมาณ นอกจากนี้ยังทำให้ระยะเวลายืดออกไปอีกประมาณ 3-4 เดือน

 

นายวิษณุกล่าวว่า ยืนยันว่าหากไม่แก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จะไม่สามารถทำประชามติได้ เพราะในรัฐธรรมนูญมีการล็อกเวลาไว้ทั้งการแปรญัตติ การลงมติเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) การเสนอทูลเกล้าฯ เพราะหากมีการทำประชามติก็เท่ากับว่าไปเปลี่ยนกำหนดเวลาของรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้นอกจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญใช้เวลาเพียง 15 วันเท่านั้น คาดว่าหากมีการทำประชามติก็จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญประมาณ 3 มาตรา เหมารวมทั้งกระบวนการทำ เวลาในการทำ และใครเป็นผู้กำกับดูแล และถ้าผ่านหรือไม่ผ่านจะต้องทำอย่างไรต่อ ทั้งหมดต้องเขียนม้วนเดียวจบในรัฐธรรมนูญที่จะแก้ไข

 

 

@ เตือนระวังแลนด์สไลด์ปฏิรูปก่อน

 

นายวิษณุกล่าวถึงกรณีกลุ่มนายไพบูลย์ นิติตะวัน เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อทำประชามติสอบถามประชาชนว่าควรปฏิรูป 2 ปี ก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ว่า ไม่มีความเห็นไม่ใช่ความคิดของรัฐบาล ยังอ่านไม่รู้เรื่องด้วยซ้ำว่าเขาพูดอะไร ยังฟังไม่ได้ศัพท์ว่าเอาอะไร ข้อเสนอดังกล่าวเขาต้องการให้เอามาเขียนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่วันนี้ยังไม่ไปถึงขั้นนั้น จะเขียนก็เขียนไป เสร็จแล้วถ้ามีประชามติก็ไปลงประชามติกัน แต่ข้อสำคัญคือ กมธ.ยกร่างฯอาจไม่เอาด้วยก็ได้

 

เมื่อถามว่า จะถูกมองว่าเป็นการสืบทอดหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ขอไม่ตอบ ต้องไปถามคนที่เสนอ รัฐบาลไม่ได้เป็นคนเสนออะไรทั้งสิ้น และจะไม่มีวันเสนอ เรื่องนี้เป็นความคิด สปช.บางคน สปช.มีตั้ง 250 คน ก็บรรเจิดของท่านไปเรื่อย เมื่อถามว่า เป็นการโยนหินถามทางหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ใช่โยนหินแล้วดินถล่มนะ แลนด์สไลด์

 

 

@ "ยงยุทธ"ชงแก้รธน.เพิ่มงานวิจัย

 

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านสังคม กล่าวถึงการเสนอความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไข ร่างรัฐธรรมนูญว่า ในส่วนกระทรวงด้านสังคมที่ตนดูแล ได้ส่งความเห็นไปยังนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ด้านกฎหมายแล้ว เป็นความเห็นเกี่ยวกับงานเรื่องสังคม เช่น ม.84 อยากให้มีเนื้อหาให้ความสำคัญเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การวิจัยพัฒนาเพิ่มขึ้น อยากให้เพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับสวัสดิภาพของเด็กและสตรีเข้าไปในรัฐธรรมนูญให้มากขึ้นอีกด้วย ส่วนเรื่องอื่นคงคุยกันในการประชุมแม่น้ำทั้ง 5 สาย

 

@ องค์กรอิสระชงตั้งสรรหาแบบเดิม

 

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีการประชุมของประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประธาน ป.ป.ช. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรณีสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้หน่วยงานของรัฐทำข้อเสนอแนะร่างรัฐธรรมนูญว่า ที่ประชุมร่วมองค์กรอิสระได้สรุปประเด็นเสนอความเห็นมายังรัฐบาลในวันที่ 14 พฤษภาคม ทางองค์กรอิสระสรุปความเห็นร่วม เห็นพ้องประเด็นเดียวคือ การตั้งกรรมการสรรหาควรใช้กรรมการสรรหาแบบเดิม ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เพราะหากมีกรรมการสรรหาจำนวนมาก อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ ขณะเดียวกันข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช.ยังคงขอให้เป็นองค์กรอิสระ และเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินคดีทุจริต 

 

 

@ ป.ป.ช.ส่งถอดอดีต 250 ส.ส.ให้สนช.

 

นายปานเทพกล่าวถึงกรณี ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 250 อดีต ส.ส. ปมแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มา ส.ว.ว่า ทางสำนักงาน ป.ป.ช.เตรียมส่งเรื่องดังกล่าวไปยัง สนช.วันที่ 15 พฤษภาคม เพื่อให้ดำเนินการพิจารณาถอดถอนต่อไป

 

 

@ เลขาฯส.อบจ.ชี้ไม่ยุบกำนัน-ผญบ.

 

นายชาตรี อยู่ประเสริฐ เลขาธิการสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แห่งประเทศไทย คณะอนุกรรมาธิการโครงสร้างด้านการกระจายอำนาจ องค์กรบริหารท้องถิ่น (อบท.) สปช. กล่าวกรณีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ตัดบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 3 มาตรา ประกอบด้วย มาตรา 82(3) มาตรา 284(5) และมาตรา 285 ว่า การจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง ในรูปแบบการปกครองพิเศษเต็มพื้นที่จังหวัดในอนาคต ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่มีการยุบเลิกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีบทเฉพาะกาลใด กำหนดระยะเวลาในการยุบเลิก ยืนยันว่าสถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะต้องทำงานพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยต่อไป แม้ว่าการจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเองจะต้องยุบ อบจ. แต่ไม่ได้หวั่นวิตก เพราะไม่ได้ยึดติดกับวงจรอำนาจเดิม การปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ มีหลักการสำคัญเพื่อประโยชน์ของประชาชนจากการกระจายอำนาจ ส่วนสาเหตุที่กำนันผู้ใหญ่บ้านและสมาพันธ์ปลัดอำเภอออกมาเคลื่อนไหว น่าจะมีเบื้องหลังผู้ไม่ต้องการสูญเสียอำนาจจากระบบราชการบริหารส่วนภูมิภาค 

 

 

@ นายกสมาคมกำนันจี้เขียนให้ชัด

 

นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากไม่ยุบเลิกก็ต้องเขียนให้ชัดเจนในร่างรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความหวั่นวิตกส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในระยะยาว สมาคมเห็นว่าจังหวัดจัดการตนเองเปรียบเสมือนผลไม้พิษ ประชาชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการบริหาร ยกตัวอย่าง การบริหารองค์กรท้องถิ่นขนาดใหญ่ เช่น กทม.ขณะนี้ไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่ใช้ชื่อผู้ว่าฯกทม.ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับระบบราชการบริหารส่วนภูมิภาค การทำหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม.ยังขัดแย้งกับคำสั่งของรัฐบาลกลางในบางเรื่อง เช่น ปัญหาน้ำท่วม กทม.ปี 2554 ดังนั้น การกระจายอำนาจในระดับจังหวัดควรให้มี อบจ.ในรูปแบบเดิม ประชาชนเข้าใจบทบาทหน้าที่ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนให้ยุ่งยาก สมาคมไม่ได้ต้องการรักษาอำนาจหน้าที่ แต่ไม่ต้องการให้ประเทศนี้มีปัญหากับการแบ่งแยกจังหวัด 

 

 

@ กมธ.ยกร่างฯแจงขึ้นกับผู้ว่าฯ

 

นายบรรเจิด สิงคะเนติ กมธ.ยกร่างฯ คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ในฉบับร่างของคณะกรรมการปฏิรูปเกี่ยวข้องกับมาตรา 285(1) ไม่มีการยุบเลิกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ให้สถาบันนี้ไปขึ้นกับผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง ยืนยันไม่มีอะไรต้องหวั่นไหว เพราะรูปแบบการกระจายอำนาจของไทย จะแตกต่างจากญี่ปุ่นหรือฝรั่งเศส เพราะบริบทในความเป็นชุมชนเมืองและพื้นที่ชนบทยังมีความจำเป็นต้องมีกำนันผู้ใหญ่บ้านเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ที่สำคัญการจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเองในระยะเริ่มต้นอาจมีเพียง 4 จังหวัด ในแต่ละภาคที่มีความพร้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นจะประเมินผลใน 5 ปี การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะต้องใช้เวลาในการประเมินคุณภาพทุกด้าน เพื่อให้มั่นใจว่าจะส่งผลดีกับประชาชนตามเจตนารมณ์ของการปกครองตนเอง และระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคจะเล็กลงหรือไม่ ต้องรอการประเมินเช่นกัน

 

 

@ "วุฒิสาร"แจงร่างปฏิรูปท้องถิ่น 

 

นายวุฒิสาร ตันไชย กมธ.ยกร่างฯ กล่าวถึงกรณีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านคัดค้านการยุบราชการส่วนภูมิภาคว่า น่าจะสับสนกัน คือความคิดเห็นกลุ่มเสนอกฎหมายจังหวัดจัดการตนเอง ในร่างกฎหมายของคณะกรรมการปฏิรูปเสนอว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ครบ มี อบต. มี อบจ. มีเทศบาลเหมือนเดิม เพียงแต่อำนาจหน้าที่เปลี่ยนไป คล้ายว่าจะทำให้จังหวัดมีการเลือกตั้ง ราชการภูมิภาคแปรสภาพไปสังกัดจังหวัด คือตัวร่างกฎหมายของการปฏิรูป ไม่เกี่ยวกับในร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนของรัฐธรรมนูญความหมายคือทำให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเต็มรูปทั้งจังหวัด การจะทำให้ราชการส่วนภูมิภาคจะอยู่หรือไม่อยู่ ขึ้นอยู่กับการเขียนและกำหนดอำนาจหน้าที่ของจังหวัดเต็มรูป อย่างกรณี กทม.ก็ไม่มีองค์กรส่วนภูมิภาคอยู่แล้ว เพราะ กทม.เป็นเมืองหลวง แต่มีงานจำนวนมากเกินไม่สามารถทำได้ แล้วราชการส่วนกลางดำเนินการอยู่ ยกตัวอย่างถ้ายกสถานะ จ.ภูเก็ตขึ้น แต่ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมาย เขียนให้สามารถทำได้ทุกเรื่องเลยหรือไม่ จะเขียนให้เป็นรูปแบบพิเศษเหมือน กทม. แปลว่างานจำนวนมากก็ยังสังกัดราชการส่วนกลางอยู่ แล้วให้ราชการส่วนภูมิภาคทำงานต่อไปได้ เพราะราชการส่วนภูมิภาคเป็นส่วนหนึ่งของราชการส่วนกลาง เจตนารมณ์ของการกำหนดรูปแบบนี้ คือไม่เขียนให้ท้องถิ่นมีอำนาจเต็มหมด แม้กระทั่ง กทม.ยังทำทุกอย่างไม่ได้เลย เป็นความเข้าใจที่นำเอาสองเรื่องมาผสมกัน 

 

 

@ "ปนัดดา"โพสต์ซัดเลิกกำนัน-ผญบ.

 

ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุกส่วนตัว หัวข้อเรื่องภูมิภาคเชื่อมโยงความเป็นประเทศ ระบุว่า ผู้ใดก็ตามที่คิดจะยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค และคิดจะยกเลิกสถาบันกำนันผู้ใหญ่บ้าน แสดงว่าคงไม่เข้าใจหลักจารีตปฏิบัติในทางรัฐศาสตร์การปกครองไทย บ้านเมืองไทยจำต้องเผชิญต่อปัญหาทางการเมืองมากมายที่ผ่านมา เป็นเพราะระบบการเมืองที่ปราศจากคุณภาพ ละเลยการยึดมั่นหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัด และสร้างความแตกแยกแก่ผู้คนในชาติ จึงไม่สมควรจะสร้างปัญหาหรือความแตกแยกเพิ่มเติม เพราะเพียงระยะเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมาปัญหาทางการเมืองมีมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ควรคิดสร้างปัญหาขึ้นซ้ำเติม แต่ควรหันกลับมาคิดว่า ทำอย่างไรจะช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่น่าจะช่วยกันขบคิดมากกว่าในยามนี้ คือทำอย่างไรจะให้มีการคานอำนาจได้อย่างเหมาะสมระหว่างภูมิภาคกับท้องถิ่น ตรวจสอบกัน ไม่ทุจริตคดโกง

 

 

@ กมธ.ยกร่างฯเคาะประชามติรธน.

 

ขณะที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม กมธ.ที่รัฐสภา จากนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช และนายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมแถลงผลการประชุม นายคำนูณกล่าวว่า ประเด็นการตั้งอนุคณะกรรมาธิการร่าง พ.ร.บประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ กำหนดให้สมาชิก สปช.เข้ามามีส่วนร่วมทุกอนุกรรมาธิการโดยไม่กำหนดจำนวน แล้วแต่ความสมัครใจและความสนใจของ สปช. พร้อมเตรียมการรับคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจาก สปช.ในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้

 

พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ต้องการให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หลังจาก สปช.มีมติในวันที่ 6 สิงหาคม โดยใช้เวลาทั้งหมด 90 วันนับจากวันแจกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน คาดว่าจะทำประชามติได้ภายในสิ้นปีนี้ และจะมีหนังสือส่งถึง ครม.และ คสช.ภายในวันที่ 13 พฤษภาคมนี้ ที่ประชุมให้เหตุผลว่า 1.ในทางทฤษฎีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเสมือนเป็นสัญญาประชาคม จึงสมควรที่ประชาชนจะให้ความเห็นชอบ 2.ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เน้นการมีส่วนร่วมของพลเมืองเป็นหลักสำคัญ 

 

ดังนั้น จึงควรทำประชามติ 3.ในร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ยกเลิกไปนั้นมีการทำประชามติ ดังนั้น การจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้จึงควรให้ประชาชนพลเมืองเห็นชอบเช่นเดียวกัน 4.การทำประชามติถือเป็นโอกาสสำคัญ กมธ.ยกร่างจะได้อธิบายที่มาที่ไปของร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้เกิดความเข้าใจต่อผู้ใช้ 5.กมธ.ได้กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องมีการทำประชามติ ดังนั้น จึงควรมีการทำประชามติตั้งแต่แรก เพื่อสอดคล้องกับหลักการดังกล่าว

 

 

@ ต้องเห็นชอบ11.75ล.คนขึ้นไป

 

พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ส่วนจะทำประชามติแบบไหน ตรงนี้ไม่เกี่ยวกับ กมธ. ไม่ควรเสนอหรือไปกำหนดอะไร เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจคือ ครม. และ คสช. โดยการทำประชามติต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ตามมาตรา 46 สนช.จะใช้เวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เกิน 2 เดือนคาดว่า จะเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม ส่วนการทำประชามติต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรรมนูญ ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 กำหนดว่าจะต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปัจจุบันมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 47 ล้านคน ดังนั้น ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกิน 23.5 ล้านคน และต้องมีเสียงเห็นชอบ 11.75 ล้านคนขึ้นไป สำหรับกระแสที่ว่าพรรคการเมืองจะโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น ไม่กังวล เพราะร่างนี้เป็นเพียงร่างแรก ยังมีเวลาปรับแก้ไขอีก 60 วัน หากประชามติไม่ผ่าน คสช.จะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่างๆ กมธ.ยกร่างฯเห็นว่ามีหลายทาง มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เช่น หัวหน้า คสช.ใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ไปหยิบรัฐธรรมนูญฉบับที่เคยใช้แล้วมาใช้แทน หรือให้ กมธ.ยกร่างฯนำไปปรับแก้ไขใหม่ หรือตั้ง กมธ.ยกร่างฯชุดใหม่ขึ้นมา เป็นต้น ที่ผ่านมามีกระแสเรียกร้องให้ทำประชามติ คิดว่าคงไม่กระทบต่อโรดแมป คสช. เพราะพรรคการเมืองบางพรรคก็ระบุว่ารอได้ถึง 1 ปี

 

 

@ "บวรศักดิ์"ให้ครม.-คสช.เคาะวิธี

 

เมื่อถามว่า ในที่ประชุมได้หารือข้อเสนอของกลุ่มนายไพบูลย์ นิติตะวัน เสนอให้ใช้ไปก่อน 2 ปี ค่อยเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า นายไพบูลย์ไม่ได้เสนออะไรในที่ประชุม และเรื่องนี้ก็เกินความสามารถที่กรรมาธิการยกร่างจะพิจารณา เป็นความเห็นส่วนตัวแต่ละคนสามารถเสนอได้ แต่เชื่อว่าเรื่องนี้ทำได้ยาก ไม่น่าผ่านความเห็นชอบ กมธ.ยกร่างฯและ คสช. เพราะจะกระทบต่อโรดแมป

 

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯกล่าวว่า ได้ลงนามในหนังสือของ กมธ.ยกร่างฯส่วนรูปแบบของการทำประชามติจะเป็นแบบใดนั้น กมธ.ไม่ได้เสนอ เพราะเป็นเรื่องของ คสช.และ ครม.ตัดสินใจเอง

 

 

@ แจงถอนตัวคปก.ไม่ให้ถูกด่า 

 

นายบวรศักดิ์กล่าวถึงกรณีสมัครเป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ว่า ได้ถอนใบสมัครแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบกับรัฐธรรมนูญ และเพื่อไม่ให้นักการเมืองมาด่าตน นอกจากนี้ อาจจะตัดมาตรานี้ในร่างรัฐธรรมนูญทิ้งด้วย ส่วนกรณีที่มี สปช.บางคนลงสมัครด้วยนั้น ก็ถือเป็นสิทธิจะลงสมัครได้

 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 และร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่กำลังพิจารณากันอยู่ ไมได้กำหนดว่า เมื่อ กมธ.ยกร่างฯพ้นจากตำแหน่ง 2 ปีแล้วจะเป็นอะไรไม่ได้เลย เพียงแต่เขียนห้ามว่า กมธ.ยกร่างฯจะไปดำรงตำแหน่งในทางการเมืองไม่ได้ โดยตำแหน่งทางการเมืองคือ ส.ส. ส.ว. รัฐมนตรี ส่วนตำแหน่งอื่น ไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และ คปก. ไม่ใช่ตำแหน่งทางการเมือง ไม่มีอะไรห้าม ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่านายบวรศักดิ์เป็นประธาน กมธ.ยกร่างฯ อาจมีส่วนได้ส่วนเสียในการพิจารณากฎหมายนั้นไม่ใช่ เพราะการสรรหา คปก.เป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ.2553 เมื่อ คปก.ชุดนายคณิต ณ นคร จะครบวาระ จึงต้องสรรหาใหม่ตามกฎหมายเดิม แต่อนาคตหากรัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำ คปก.รูปแบบใหม่ คปก.ที่กำลังสรรหากันอยู่ก็ต้องสิ้นสุดลง แล้วไปสรรหาใหม่ จะได้เป็นหรือไม่ยังไม่รู้เลย

 

"เขาไม่ได้ใจร้ายถึงขนาดห้ามว่าคนทำรัฐธรรมนูญจะทำอะไรไม่ได้ตลอดชีวิต ไม่ใช่อย่างนั้น ห้ามไว้แค่ 2 ปี ห้ามเฉพาะดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ใช่เอา กมธ.ยกร่างฯชุดนี้มาขึ้นเขียง รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ยังไม่รู้ แล้วยังจะบอกไม่ให้เป็นอะไรอีก" นายวิษณุกล่าว 

 

 

@ กมธ.รอชี้ขาดตัดกลุ่มการเมือง 

 

นายเจษฎ์ โทณวณิก กมธ.ยกร่างฯกล่าวถึงกรณี สปช.ขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ขอให้ตัดบทบัญญัติว่าด้วยกลุ่มการเมืองสามารถส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ว่า กมธ.ยกร่างฯจะนำไปพิจารณาร่วมกัน หากมีคำขอแก้ไขและ กมธ.ยกร่างฯเห็นตรงกันว่าจะตัดบทบัญญัติดังกล่าวออก ต้องกลับไปพิจารณารายละเอียดและเจตนารมณ์เดิม กำหนดให้กลุ่มการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตั้งใจให้ผู้ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งไม่สังกัดพรรคการเมืองต้องใช้จำนวนสมาชิกจำนวนตามกฎหมาย ทำให้เข้าถึงระบบการเลือกตั้งได้ง่าย จึงต้องแก้ไขในบทบัญญัติอื่นให้คงเจตนารมณ์เดิมไว้ เช่น การตั้งพรรคการเมืองต้องทำได้ง่าย และเปิดโอกาสให้ผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในนามอิสระได้ เป็นต้น

 

 

@ กกต.รับลูกพร้อมทำประชามติ 

 

นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวกรณี กมธ.ยกร่างฯมีมติเห็นชอบเสนอให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า การทำประชามติจะต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาลและ คสช.ก่อนจะให้ดำเนินการอย่างไร กกต.ในฐานะหน่วยงาน

 

ผู้ปฏิบัติเตรียมความพร้อมการทำประชามติไว้แล้วตั้งแต่หลังการทำประชามติรัฐธรรมนูญปี 2550 มีแผนไว้แล้ว ทั้งในเรื่องของการจัดการการออกเสียงประชามติและการให้ความรู้ นอกจากนั้น ก็ยังเตรียมความพร้อมการจัดเลือกตั้งไปพร้อมกัน ไม่ว่าจะเลือกตั้งแบบเดิมหรือแบบโอเพ่นลิสต์ ส่วนยอดผู้มีสิทธิออกเสียงประชามตินั้นก็ไม่มีปัญหา เพราะ กกต.ตรวจสอบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้งตลอดเวลาอยู่แล้ว

 

 

@ วิปสปช.ก็เอาด้วยประชามติ 

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการ สปช. (วิป สปช.) กล่าวถึงผลการประชุมวิป สปช.ว่า ที่ประชุมมีความเห็นว่า 1.เห็นด้วยกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2.การออกเสียงประชามติดังกล่าวควรเป็นการลงประชามติทั้งฉบับภายหลัง สปช.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวแล้ว 3.กระบวนการออกเสียงประชามติต้องรอบคอบ รอบรู้ ต้องทำให้ประชาชนเข้าใจสาระและเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงก่อนออกเสียงประชามติ สปช.และ กมธ.ยกร่างฯ พร้อมเป็น 2 หน่วยงานสำคัญให้ความรู้ประชาชน และ 4.หน่วยงานจะมาดำเนินการต้องวางกติกาและกฎเกณฑ์ให้โปร่งใส เป็นที่ยอมรับ ที่ประชุมยกตัวอย่าง เช่น แนวทางการออกเสียงประชามตินั้นควรจะต้องมีระยะเวลาสำหรับให้ประชาชนได้ศึกษาก่อนไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือทำเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่จัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญกว่า 40 ล้านฉบับ เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาก่อนลงเสียงประชามติ ที่ประชุมไม่ได้พูดถึงมตินี้ว่าจะต้องจัดส่งไปยัง ครม.และ คสช. แต่หารือประเด็นนี้ตามที่

 

นายกฯ ขอความคิดเห็นจาก สปช.และ กมธ.ยกร่างฯเท่านั้น 

 

 

@ ลุยกม.ปฏิรูปช่วยรธน.สั้นลง 

 

นายอลงกรณ์กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมวันจันทร์ถึงวันพุธในวาระปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่กำหนดว่าจะหารือผลประชุมของวิป สปช.วันนี้เมื่อใด ขึ้นอยู่กับประธาน สปช. สำหรับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ กมธ.ยกร่างฯ มีแนวทางเปลี่ยนไป ให้มีอนุคณะกรรมการศึกษาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จะดำเนินการได้หลังวันที่ 6 สิงหาคม จะแยกเป็น 2 ส่วนคือ 1.กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และ 2.กฎหมายปฏิรูป ในส่วนของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนั้น จะดำเนินการหลังร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบแล้ว ขณะที่กฎหมายปฏิรูปอาจจะแก้ไขในร่างรัฐธรรมนูญเรื่องจัดทำกฎหมายปฏิรูป โดยอาจจะเพิ่มในบทเฉพาะกาลรวมถึงในบางหมวดของรัฐธรรมนูญ จะทำให้เนื้อหาในภาค 4 ของรัฐธรรมนูญสั้นลงด้วย

 

 

@ "หม่อมอุ๋ย"ปัดต่อรอง-เด้งอารีพงศ์

 

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังผลักดันย้ายนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยยื่นคำขาดหากไม่ย้ายจะยกทีมเศรษฐกิจลาออกว่า มีการเสนอเรื่องผ่านตน และแค่เซ็นให้ผ่านก็เท่านั้นเอง ทาง ก.พ.ร.อยากได้ตัวนายอารีพงศ์ เป็นการปรับโอนตามความถนัดของงาน 

 

"ข่าวที่ออกมาผมว่ามีคนปล่อย แต่ผมไม่ได้ติดใจอะไร ทำหน้าที่ปกติ นายอารีพงศ์นั้นมีความเหมาะสมทั้ง 2 ด้าน เพราะเคยทำ ก.พ.ร.มาก่อน และ ก.พ.ร.ก็ต้องการตัว กระทรวงพลังงานก็ไม่ได้ว่าอะไร ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งชอบลงพาดหัวหวือหวากับผมเสมอ แต่กับทหารไม่กล้าเลย บอกเขาด้วยนะ" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว

 

ผู้สื่อข่าวถามว่าหลังจากนี้จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้านเศรษฐกิจหรือไม่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า ไม่มีเลย ครม.เศรษฐกิจไม่ต้องปรับ เหมือนเดิม

 

 

@ ปลัดแรงงานแจงปมรมต.ติง

 

นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณี พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่าปลัดกระทรวงแรงงานและเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมทำงานเรื่องค่าหัวคิวแรงงานต่างด้าวและการปฏิรูประบบประกันสังคมล่าช้า และให้พิจารณาตัวเองว่า ทั้งสองเรื่อง เมื่อได้รับมอบหมายงานมาแล้ว ก็ได้เร่งทำงาน และขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ เรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหญ่จึงต้องใช้เวลาในการทำงาน

 

 

@ พท.ป้อง"แม้ว"รู้ควรพูดอะไร

 

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณี ฝ่ายความมั่นคงสั่งจับตาความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการไปกล่าวปาฐกถาพิเศษด้านเศรษฐกิจที่เกาหลีใต้วันที่ 19 พฤษภาคมนี้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะไปพูดถึงอนาคตเอเชีย ทิศทางเศรษฐกิจโลก พูดในลักษณะสร้างสรรค์ ไม่วิพากษ์รัฐธรรมนูญไทย พ.ต.ท.ทักษิณได้รับเชิญไปพูดในฐานะอดีตผู้นำของประเทศและผู้นำของเอเชีย ไม่มีการจ้างล็อบบี้ยิสต์เพื่อให้ได้พูดตามที่มีความพยายามเต้าข่าว ขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิง เพราะคนเชิญทราบดีว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นอดีตนายกฯของประเทศไทย ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี ทำประชาธิปไตยให้กินได้ มีผลงานการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดด คนทั้งโลกต้องหันมามองประเทศไทย ถ้าฝ่ายความมั่นคงต้องการติดตามการปาฐกถาสามารถติดตามได้ทางช่องทางที่ผู้จัดเตรียมไว้ ไม่ต้องตื่นเต้น ตื่นตระหนก พ.ต.ท.ทักษิณไปพูดมาแล้วทั่วโลก คงไม่หาประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ จากการพูดบนเวทีนี้ ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ พ.ต.ท.ทักษิณรักประเทศชาติ รักประชาชน จะไม่ใช้อารมณ์มาทำร้ายประเทศชาติและประชาชนเด็ดขาด

 

 

@ "เต้น"เหน็บกระดี๊กระด๊านั่งยาว 

 

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการกลุ่ม นปช. กล่าวว่า ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ย้ำทุกวันว่าตามโรดแมป ไม่สืบทอดอำนาจ แต่คนที่เอามาใช้งานกลับเสนอให้ทำประชามติหลังรัฐธรรมนูญผ่า

 

 

 

ประชามติทั้งฉบับ ตรงกัน มติ'กมธ.-สปช.'ชงคสช.-รัฐบาล ดำเนินการสิ้นปี บิ๊กตู่ก็ไม่ขัดข้อง ให้เสนอเรื่องมา 'เสธ.หมึก'ยืนยัน บิ๊กจิ๋วเปิดบ้านแน่

 

 

 

      มติเอกฉันท์กมธ.ยกร่างฯส่งเรื่องให้คสช.-รัฐบาลทำประชามติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปลายปีนี้หลังผ่านสปช.คาดปลายปีดำเนินการได้ บวรศักดิ์เผยเซ็นหนังสือยื่นเรื่องไปแล้ว เผยหลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์กึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 47 ล้านคน จะผ่านได้ก็ต่อเมื่อมีผู้เห็นชอบ 11.75 ล้านเสียงขึ้นไป ด้านวิปสปช.ก็หารือหนุนประชามติทั้งฉบับและโปร่งใส ด้านบิ๊กตู่แบะท่าไม่ขัดข้อง ระบุถ้าจะให้ดำเนินการแม่น้ำทั้ง 5 สายต้องเสนอมา เด็กบิ๊กจิ๋วยันพล.อ.ชวลิตเปิดบ้านให้อวยพร 83 ปี เมินคสช.ขวางยันให้สัมภาษณ์ตามปกติ ไม่ใช่แถลงทางการเมือง

 

วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 8933 ข่าวสดรายวัน

 

 

มติกมธ.ยกร่างให้ประชามติรธน.

       เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 พ.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญ มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ เป็นประธานการประชุม โดยใช้เวลาหารือกว่า 2 ชั่วโมง

       จากนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช และนายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกมธ.ยกร่างฯ แถลงถึงผลการประชุมว่า หารือประเด็นการตั้งอนุกมธ.ร่างพ.ร.บประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยกำหนดสัดส่วนให้สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีส่วนร่วมทุกอนุกมธ. โดยไม่กำหนดจำนวน แล้วแต่ความสมัครใจและความสนใจ พร้อมเตรียมรับคำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจาก สปช. ในวันที่ 25 พ.ค. นี้พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หลังจากสปช.มีมติใน วันที่ 6 ส.ค. ซึ่งจะใช้เวลาทั้งหมด 90 วัน นับจากวันที่แจกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน คาดว่าจะทำประชามติได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยวันเดียวกันนี้ กมธ. ยกร่างฯ จะมีหนังสือส่งถึงครม. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 

 

ต้องใช้สิทธิ์ 23 ล้าน-11.75ล้านเสียง

       พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ที่ประชุมให้เหตุผลเสนอให้ทำประชามติว่า 1.ในทางทฤษฎี รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเสมือนเป็นสัญญาประชาคม จึงสมควรที่ประชาชนจะให้ความเห็นชอบ 2.ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เน้นการมีส่วนร่วมของพลเมืองเป็นหลักสำคัญ จึงควรทำประชามติ 3.ในร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ยกเลิกไปนั้นมีการทำประชามติ ดังนั้น การจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้จึงควรให้ประชาชนพลเมืองเห็นชอบเช่นเดียวกัน 

4.การทำประชามติถือเป็นโอกาสสำคัญ ที่กมธ.ยกร่างฯ จะได้อธิบายที่มาที่ไปของร่างรัฐธรรมนูญนี้ให้เกิดความเข้าใจและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ ฝ่ายการเมือง ข้าราชการ และประชาชน ทำให้การใช้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 5.เรากำหนดในร่างรัฐธรรมนูญว่าการแก้ไขจะต้องทำประชามติ จึงควรทำประชามติตั้งแต่แรกเพื่อจะได้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว

พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ส่วนเงื่อนไขว่าจะทำประชามติแบบไหน อย่างไรต่อไปนั้น ไม่เกี่ยวกับเรา เราไม่ควรเสนอหรือไปกำหนด เป็นเรื่องของผู้ที่มีอำนาจจะตัดสินใจ คือ ครม. และคสช. โดยการทำประชามติต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ตามมาตรา 46 ที่ สนช.จะใช้เวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่เกิน 2 เดือน คาดว่าจะเสร็จภายในเดือนก.ค. ส่วนการทำประชามติต้องเป็นไปตาม พ.ร.บประกอบรัฐธรรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 กำหนดว่าจะต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ปัจจุบันมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 47 ล้านคน ดังนั้น ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกิน 23.5 ล้านคน และต้องมีเสียงเห็นชอบ 11.75 ล้านคนขึ้นไป

 

เผย 3 ทางเลือกคสช.-ถ้าไม่ผ่าน

ส่วนที่มีกระแสว่าพรรคการเมืองจะโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั้น โฆษกกมธ. ยกร่างฯ กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะร่างนี้เป็นเพียงร่างแรก ยังมีเวลาปรับแก้ไขอีก 60 วัน ในขั้นตอนนี้ทุกฝ่ายมีโอกาสแสดงความคิดเห็น เมื่อถามว่าหากประชามติไม่ผ่านจะทำอย่างไร พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า เงื่อนไขทั้งหมด คสช.จะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ กมธ. ยกร่างฯ ได้หารือกันแล้วเห็นว่ามีหลายทาง มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น หัวหน้าคสช.ใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ไปหยิบรัฐธรรมนูญฉบับที่เคยใช้แล้วมาใช้แทน หรือให้กมธ. ยกร่างฯ นำไปปรับแก้ไขใหม่ หรือ ตั้งกมธ.ยกร่างฯ ชุดใหม่ขึ้นมา

เมื่อถามว่าการทำประชามติจะกระทบ ต่อโรดแม็ปคสช.หรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์กล่าวว่า ที่ผ่านมามีกระแสเรียกร้องให้ทำประชามติ สอดคล้องกับแนวคิดของกมธ.ยกร่างฯ ก็ต้องเดินหน้าทำประชามติ คิดว่าคงไม่กระทบ ต่อโรดแม็ป เพราะบางพรรคระบุว่ารอ เลือกตั้งได้ถึง 1 ปี

เมื่อถามว่าในที่ประชุมได้หารือข้อเสนอของนายไพบูลย์ นิติตะวัน หรือไม่ พล.อ. เลิศรัตน์กล่าวว่า นายไพบูลย์ไม่ได้เสนออะไรในที่ประชุม และเรื่องนี้เกินความสามารถที่กมธ.ยกร่างฯ จะพิจารณา แต่เข้าใจเป็นความเห็นส่วนตัว สามารถเสนอได้ 

 

"อ.ปื๊ด"เผยถอนชื่อจากคปก.แล้ว

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสมัครเป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาตรา 282 (3) ให้อำนาจหน้าที่ คปก.มีอำนาจเสนอให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมาย จนถูกมองว่าอาจเขียนรัฐธรรมนูญเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองว่า ตนได้ถอนใบสมัครแล้ว เพื่อไม่ให้กระทบกับรัฐธรรมนูญ และไม่ให้นักการเมืองมาด่าตน นอกจากนี้อาจจะตัดมาตรานี้ทิ้งด้วย ส่วนมีสมาชิกสปช.บางคนลงสมัครด้วยนั้น ถือเป็นสิทธิของเขา

เมื่อถามว่าได้ลงนามในหนังสือของกมธ.ยกร่างฯ ที่มีมติเห็นว่าควรทำประชามติและจะส่งให้กับรัฐบาลในวันที่ 13 พ.ค.หรือยัง นายบวรศักดิ์กล่าวว่า เซ็นแล้ว ตนเป็นคน เซ็นชื่อเอง เพราะเป็นประธานกมธ.ยกร่างฯ ส่วนรูปแบบการทำประชามตินั้น เราไม่ได้เสนอ เพราะเป็นเรื่องของคสช.และครม. จะตัดสินใจเอง

 

วิปสปช.ก็เอกฉันท์หนุนทำทั้งฉบับ

นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) แถลงภายหลังการประชุม ว่า วิปสปช.หารือร่วมกับประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญปฏิรูป 18 คณะ และประธานคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับกระบวนการ 5 คณะ รวม 23 คณะ เพื่อให้ความเห็นว่าจะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็น 1.เห็นด้วยกับการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2.รูปแบบการจัดทำประชามติจะต้องทำทั้งฉบับหลังสปช.ให้ความเห็นชอบ 3.กระบวนการออกเสียงทำประชามติจะต้องรอบคอบ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนออกเสียงอย่างเข้าใจในเนื้อหารัฐธรรมนูญ โดยสปช. และกมธ.ยกร่างฯจะเป็นผู้ให้ตวามรู้กับประชาชน และ 4.การออกเสียงประชามติ การวางกติกากฎเกณฑ์ต้องโปร่งใส

นายอลงกรณ์กล่าวว่า ในวันที่ 19 พ.ค. ครม. และคสช.จะหารือกัน ทางสปช.จะนำความเห็นและท่าทีดังกล่าวแจ้งให้ทราบ เนื่องจากที่ผ่านมานายกฯ ได้ระบุว่าต้องการทราบความเห็นของสปช.ในเรื่องการจัดทำประชามติ ส่วนถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะดำเนินการอย่างไรนั้นที่ประชุมยังไม่ได้ลงในรายละเอียด นอกจากนี้จะมีการพิจารณาต่อไปว่าจะนำท่าทีดังกล่าวเข้าที่ ประชุมสปช.เพื่อเป็นมติของสปช.

นายอลงกรณ์ยังกล่าวถึงอนุกรรมาธิการศึกษาการยกร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า จะต้องรอให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของสปช. ซึ่งตามกำหนดดือวันที่ 6 ส.ค. ไปก่อน โดยโครงสร้างภารกิจจะต้องดำเนินการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหลังรัฐธรรรมนูญประกาศใช้ และยกร่างกฎหมายปฏิรูปในด้านต่างๆ แต่อำนาจหน้าที่ยังมีการหารือกันอยู่ ซึ่งจะมีสมาชิกสปช.ร่วมอยู่ในคณะอนุกรรมาธิการด้วย ทั้งนี้ที่ประชุมยังได้หารือว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะตัดจำนวนมาตราเกี่ยวกับการปฏิรูปในร่างรัฐธรรมนูญให้น้อยลง แล้วไปจัดทำเป็นกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปแทน 

 

"วัฒนา"ชำแหละรธน.ซ่อนเงื่อน

ด้านนายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนเขียนบทความหลายฉบับวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "มหาปราชญ์" ว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ประเด็นที่ตนวิจารณ์หนักสุดคือการจัดตั้งองค์กรและคณะบุคคล ในนามสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการและมีอำนาจเหนือตัวแทนที่มาจากประชาชนต่อไปอีกอย่างน้อย 5 ปี ตนยังตั้งคำถามกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญอีกหลายครั้ง แต่ไม่เคยได้รับคำตอบที่ตรงประเด็น 

นายวัฒนากล่าวว่า ตอนนี้ตนหาคำตอบพบแล้ว อาศัยทฤษฎีด้านการสืบสวนสอบสวนที่กล่าวไว้ว่า "อาชญากรย่อมทิ้งร่องรอยไว้เสมอ" ดังนี้ 1.องค์กรที่ตนเห็นว่าเป็นมหันตภัยที่สุดในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา 279 เพราะใช้เล่ห์เพทุบายจัดตั้งองค์กรนี้ขึ้น อาศัยข้ออ้างปฏิรูปประเทศบังหน้า แต่ออกแบบให้องค์กรนี้มีอำนาจมากจนเกินการปฏิรูป ขนาดสั่งรัฐสภา ครม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด รวมถึงบังคับให้ ครม.ต้องจัดสรร งบประมาณให้ดำเนินการจนพอใจได้อีกด้วย

2.องค์กรดังกล่าวมีอำนาจล้นฟ้าแล้ว กมธ.ยกร่างฯ หรือท่านมหาปราชญ์ ยังไม่หนำใจ กลัวประชาชนจะเงยหน้าได้ จึงประเคนอำนาจเพิ่มให้องค์กรนี้ ให้มีอำนาจออกกฎหมายผ่านวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาด้วยกัน ส่วนองค์กรที่เป็นแขนขาเสนอกฎหมายคือ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หรือ คปก. ซึ่งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ตราเป็น พ.ร.บ.จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2553 มีอำนาจปฏิรูปกฎหมาย โดยเสนอแนะต่อ ครม.และรัฐสภา ประกอบด้วยคณะกรรมการ 11 คน มีวาระ 4 ปี และไม่เกิน 2 วาระติด ต่อกัน

 

แฉกมธ.ยกร่างฯดอดสมัครคปก.

3.การที่ตนบอกว่าคปก.ทำหน้าที่เป็นแขนขาให้กับสภาขับเคลื่อนฯ เนื่องจากมีมือดีแอบยัดไส้เพิ่มอำนาจให้กับ คปก. เกินกว่าอำนาจเดิมที่มีอยู่ ที่ให้อำนาจเพียงเสนอแนะการปฏิรูปกฎหมายต่อ ครม.และเสนอข้อสังเกตต่อ ครม.และรัฐสภา แต่ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับสารพัดฉายานี้ ท่านมหาปราชญ์ได้แอบสถาปนาอำนาจเพิ่มให้กับ คปก. ตามมาตรา 282(3) ให้มีอำนาจ เสนอให้สภาขับเคลื่อนฯ พิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายหรือกฎ แล้วแต่กรณี ที่จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระหรือขั้นตอนโดยไม่จำเป็น ซึ่งดูเหมือนจะดีแต่คำถามของตน คือใครเป็นคนพิจารณาว่ากฎหมายหรือกฎใดที่จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชน หรือสร้างภาระหรือขั้นตอนโดยไม่จำเป็น เพราะไม่ได้สร้างกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของ คปก. ไว้เลย เท่ากับให้ คปก. ใช้อำนาจตามอำเภอใจ เป็นอินจันแฝดสยามร่วมกับสภาขับเคลื่อนฯ โดยไม่ต้องรับผิดชอบ กดหัวประชาชน ไม่เห็นเดือนเห็นตะวันต่อไปอีก 5 ปี มันไม่มากไปหรือ

4.คปก. ชุดแรกที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธานเริ่มปฏิบัติหน้าที่วันที่ 25 พ.ค.2554 จะครบ 4 ปีที่ต้องสรรหาใหม่วันที่ 25 พ.ค.นี้ เปิดรับสมัครวันที่ 10 มี.ค.-20 เม.ย.ที่ผ่านมา มีผู้สมัคร 85 คน แบ่งเป็นกรรมการประเภทเต็มเวลา 40 คน ประเภทไม่เต็มเวลา 45 คน รายชื่อผู้สมัครส่วนใหญ่ คงคุ้นๆ แต่ที่ตนคุ้นเป็นพิเศษคือ ผู้สมัครประเภทเต็มเวลาลำดับที่ 26 นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และผู้สมัครประเภทไม่เต็มเวลาลำดับที่ 12 นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ เพราะทั้งสอง เป็นกมธ.ยกร่างฯรัฐธรรมนูญฉบับนี้

 

วิษณุ ปัดไม่รู้ไพบูลย์โยนหิน

เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงกรณีนายไพบูลย์เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อทำประชามติสอบถามประชาชน ควรปฏิรูป 2 ปีก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ว่า ไม่มีความเห็น ไม่ใช่ความคิดของรัฐบาล และยังอ่านไม่รู้เรื่องว่าเขาพูดอะไร ยังฟังไม่ได้ศัพท์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว เขาต้องการให้เอามาเขียนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่วันนี้เรายังไปไม่ถึงขั้นนั้น จะเขียนก็เขียนไป เสร็จแล้วถ้ามีประชามติก็ไปลงประชามติ แต่ข้อสำคัญ กมธ.ยกร่างฯ อาจไม่เอาด้วยก็ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะถูกมองว่าสืบทอดเวลาหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ขอไม่ตอบ ต้องถามคนเสนอ รัฐบาลไม่ได้เป็นคนเสนอและจะไม่มีวันเสนอ เรื่องนี้เป็นความคิดบางคน ซึ่งสปช.มีตั้ง 250 คน ก็บรรเจิดของเขาไปเรื่อย ส่วนจะเป็นการโยนหินถามทางหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ใช่โยนหินแล้วดินถล่ม แลนด์สไลด์ 

 

ชี้องค์กรที่ไม่ควรบัญญัติไว้ในรธน.

นายวิษณุกล่าวถึงการรวบรวมความเห็นหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญว่า กระทรวงต่างๆ ส่งเกือบครบแล้ว และยังมีหน่วยงานอื่น เช่น องค์กรอิสระ ประชาชน พระสงฆ์ นักวิชาการ ส่งความเห็นมาด้วย ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะที่ดี ทั้งนี้ ตนเป็นห่วง เนื่องจากกมธ.ยกร่างฯ มีเวลาแก้ไข 60 วัน หากขอแปรญัตติมาก กมธ.ยกร่างฯจะไม่สามารถแก้ไขให้เสร็จภายในกำหนด ดังนั้น อาจต้องสอบถามว่ามีส่วนใดที่รัฐบาลช่วยเหลือได้ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อขยายเวลาแปรญัตติของ กมธ.ยกร่างฯ แต่จะไม่ขยายเวลาออกไปมาก เพราะจะทำให้ทุกอย่างยืดเวลาออกไป

เมื่อถามถึงการตัดเนื้อหาในร่างที่ยาวเกินไป นายวิษณุกล่าวว่า ครม.จะส่งความเห็นเรื่องนี้ไปยัง กมธ.ยกร่างฯ แต่จะไม่ร่างไปให้ เพราะถ้าหากร่างไป คนอาจคิดว่ามีพิมพ์เขียว ซึ่งเราจะให้ความเห็น จัดเป็นหมวดหมู่ก่อนส่งไปกมธ.ยกร่างฯ ประกอบด้วย 1.ควรเขียนรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน เพราะอาจเกิดการตีความ และทะเลาะกัน เนื่องจากอ่านแล้วไม่เข้าใจ 2.ควรตัดเนื้อหาบางส่วนออกไป โดยนำไปใส่ในกฎหมายลูกแทน เพราะการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญจะแก้ไขลำบาก

นายวิษณุกล่าวว่า 3.มีบางหลักการในร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ควรจะมีอยู่ เช่น การมีสภาหรือสมัชชาต่างๆ เพราะเป็นอุปสรรคในการทำงานของรัฐบาล อีกทั้งเปลืองงบประมาณ 4.ต้องเปลี่ยนใหม่ในบางเรื่อง บางประเด็น เชื่อว่า กมธ.ยกร่างฯ จะเห็นด้วยในบางประเด็น เพราะทั้ง 36 คน ความเห็นไม่ตรงนั้นทั้งหมด

 

ประชามติต้องแก้รธน.ใน 3 มาตรา

เมื่อถามว่าสนช.จะเปิดอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีความเห็นเรื่องการทำประชามติด้วย จะเป็นการกดดันรัฐบาลหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เรื่องการทำประชามติ ไม่มีที่ไหนเขียนรองรับ ยังเป็นเรื่องลอยๆ อยู่ ใครจะเสนอให้ทำประชามติก็บอกมาที่รัฐบาลได้ ไม่มีปัญหา ไม่ได้กดดันรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่สามารถออกตัวได้ว่าอยากทำ เนื่องจากคนอาจมองว่าอยากอยู่ต่อ อีกทั้งการทำประชามติยังมีต้นทุน ใช้งบประมาณ และทำให้ระยะเวลาต้องยืดออกไปอีก 3-4 เดือน 

นายวิษณุกล่าวว่า ยืนยันว่าหากไม่แก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จะไม่สามารถทำประชามติได้ เพราะมีการล็อกเวลาไว้ทั้งการแปรญัตติ การลงมติเห็นชอบของสปช. รวมการเสนอทูลเกล้าทูลกระหม่อม เพราะหากทำประชามติเท่ากับไปเปลี่ยนกำหนดเวลาของรัฐธรรมนูญ จึงต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งใช้เวลาเพียง 15 วันเท่านั้น คาดว่าหากทำประชามติก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ 3 มาตรา เหมารวมทั้งกระบวนการทำ เวลาทำ และใครเป็นผู้กำกับดูแล และถ้าผ่านหรือไม่ผ่าน จะทำอย่างไรต่อไป โดยทั้งหมดต้องเขียนม้วนเดียวจบในรัฐธรรมนูญที่จะแก้ไข

 

ป้อง"บวรศักดิ์"ไม่มีส่วนได้เสีย

เมื่อถามถึงนายบวรศักดิ์เข้ารับการสรรหาเป็นคปก. ชุดใหม่ นายวิษณุกล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่พิจารณากันอยู่ ไม่ได้กำหนดว่าเมื่อกมธ.ยกร่างฯ พ้นจากตำแหน่ง 2 ปีแล้วจะเป็นอะไรไม่ได้เลย เพียงแต่เขียนห้ามว่า กมธ.ยกร่างฯ จะไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ได้ ซึ่งก็คือ ส.ส. ส.ว. รัฐมนตรี ส่วนตำแหน่งอื่น ไม่ว่ารัฐวิสาหกิจ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และคปก.ไม่ใช่ตำแหน่งทางการเมือง ไม่มีอะไรห้าม

นายวิษณุกล่าวว่า ส่วนที่ตั้งข้อสังเกตว่านายบวรศักดิ์ เป็นประธานกมธ.ยกร่างฯ อาจมีส่วนได้ส่วนเสียพิจารณากฎหมายนั้น ไม่ใช่เพราะการสรรหาคปก.เป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ.2553 ที่มีมาหลายปีแล้ว กระทั่งมาคณะกรรมการคปก.ชุดนายคณิต ณ นคร ครบวาระ จึงต้องสรรหาใหม่ตามกฎหมายเดิม ไม่มีอะไรแปลกใหม่ และคสช.ไม่ได้ออกประกาศใหม่ แต่ในอนาคต หากรัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำคปก. รูปแบบใหม่ กรรมการคปก.ที่สรรหากันอยู่ก็ต้องสิ้นสุดลง แล้วไปสรรหาใหม่ ดังนั้น จะได้เป็นหรือไม่ยังไม่รู้เลย

"เขาไม่ได้ใจร้ายถึงขนาดห้ามว่า คนที่ทำรัฐธรรมนูญจะทำอะไรไม่ได้ตลอดชีวิต ไม่ใช่อย่างนั้น เขาห้ามไว้แค่ 2 ปี และห้ามเฉพาะดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ใช่เอา 36 กมธ.ยกร่างฯ ชุดนี้มาขึ้นเขียง รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่านยังไม่รู้ แล้วยังจะบอกไม่ให้เป็นอะไรอีก" นายวิษณุกล่าว

 

บิ๊กตู่ซัดจำนวนข้าว-รถคันแรก

เมื่อเวลา 16.00 น. ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "เกษตรกรก้าวหน้า พัฒนาการเกษตรไทย" ในการสัมมนาเนื่องในวันเกษตรกรว่าเกษตรกรต้องนึกถึงห่วงโซ่การผลิตและการขายให้เกิดความต่อเนื่อง สร้างวงจรขึ้นมาเอง เราต้องเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้รู้ทางการค้า กำหนดราคาเองได้ และขยายเป็นเอสเอ็มอี ต้องสร้างตรงนี้ไว้เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง เราต้องร่วมมือกันไปสู่อนาคตที่ดี เริ่มต้นชีวิตใหม่โดยเดินไปกับตน ตนมีเวลาแค่ไหนก็ทำได้แค่นั้น แต่สิ่งที่วางไว้เป็นสิ่งที่ทุกคนน่าจะนำไปทำต่อ ถ้าไม่ทำต่อค่อยไปว่าเขา

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า อย่าไปฟังการบิดเบือนพูดจาชักจูง ทุกคนต้องเข้มแข็งด้วยตัวเอง ถ้าเกษตรกรไม่เข้มแข็ง ไม่รวมกลุ่ม ไม่มีสหกรณ์ จะไม่มีวันเข้มแข็งได้และจะถูกตีแตกอยู่แบบนี้ อย่างเกษตรกรชาวสวนยางมีหลายกลุ่ม เวลาคุยกับรัฐบาลก็มาไม่ครบ เกิดปัญหาเรื่องการเจรจากับรัฐบาล ถ้าเป็นแบบนี้จะไปไม่ได้ 

"ยืนยันว่าสิ่งที่ผมทำไม่ใช่ประชานิยม แต่ต้องการลดความเดือดร้อน ประเทศชาติต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับล่าง เมื่อพี่น้องไม่มีเงิน รัฐบาลก็ต้องหาเงินไปให้ แต่ต้องเป็นลักษณะการชดเชย ซึ่งตรงนี้ต้องถามว่าได้เงินจริงหรือไม่ ถ้าไม่ได้แสดงว่ามีปัญหา และผมไม่สามารถช่วยได้ทั้งหมด ไม่สามารถโยนเงินลงไปแล้วหาย ทำอย่างนั้นไม่ได้ ฉะนั้น ขอให้ร่วมมือกัน รัฐบาลต่อไปถ้าเอาเงินมาให้ ต้องถามด้วยว่าเอาเงินมาจากไหน เพราะวันนี้ที่รัฐบาลมาเริ่มต้นทำงาน เงินหมดไปแล้ว เพราะเงินถูกใช้ล่วงหน้าไปแล้ว ที่ผ่านมา นโยบายโครงการรับจำนำข้าวและโครงการรถยนต์คันแรก สร้างความเสียหายให้กับประเทศมาก นั่นเป็นสิ่งที่พวกท่านเลือก เราถึงต้องตามแก้อยู่ถึงทุกวันนี้" นายกฯ กล่าว

 

บ่นมาเป็นนายกฯไม่มีความสุข

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า รัฐบาลต้องการให้ทุกคนร่วมมือเพื่อจะได้สร้างประเทศให้ลูกหลานและเพื่อประสบความสำเร็จในวันหน้า ตนขอให้ทุกคนรับฟังและทำความเข้าใจให้มากๆ อย่าให้ใครมาดึงเข้าสู่วงจรเดิมได้ รัฐบาลนี้ต้องตั้งหลักให้กับประเทศให้ได้ เพราะทุกคนต้องการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ในอนาคต ตนทำงานทุกวันนี้ทั้งพูด ทั้งทำก็รู้สึกเหนื่อยเป็นธรรมดา บางวันหน้าตาสดชื่น บางวันหงุดหงิดเพราะปัญหาเยอะมาก ตื่นก็คิด นอนก็ฝัน มีปัญหากระทบกระทั่งกันบ้าง มีทั้งคนชอบและไม่ชอบก็ช่วยไม่ได้ ตนให้เวลามามากแล้ว ทั้งที่ถึงเวลาที่จะต้องพักผ่อนแล้ว

"มันมีความสุขมากหรืออย่างไรที่มายืนตรงนี้ เห็นทุกคนอยากเป็นกันหมด ถ้าอยากเป็นแล้วไม่ทำงานก็ดูดี แต่ถ้าเป็นแล้ว ทำงานแบบเดิมก็ไม่ต้องมาเป็น ซึ่งหลายประเทศก้าวหน้าไปมาก แต่ไทยมัวแต่ทะเลาะกัน เสียเวลาไปหลายปี ขณะนี้กฎหมายหลายฉบับทยอยประกาศใช้ ทุกคนอย่าไปกลัวกฎหมายทุกฉบับทำให้คนอยู่ร่วมกันได้ ไม่ใช่ออกมาให้ทะเลาะเบาะแว้งหรือให้นักการเมืองมาตีกัน อย่าไปเป็นเหยื่อเขา ประชาชนเป็นใหญ่อยู่ภายใต้กฎหมาย มีสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ต่อตนเอง ครอบครัวและบ้านเมือง อย่าคิดว่ากฎหมายมีไว้เพื่อใช้ในช่วงมีความขัดแย้ง ถ้าไม่ขัดแย้งก็ไม่ต้องใช้กฎหมาย" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

 

อ้างมีคนเสนอผลประโยชน์ให้

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า บางประเทศเขาไม่มีรัฐธรรมนูญ แต่เรามี เขียนมา 19 ฉบับแล้ว ฉบับปัจจุบันจะเละอีกหรือไม่ก็ยังไม่รู้ พอใจหรือไม่ที่เขาเขียนให้พลเมืองเป็นใหญ่ ขอให้ทุกคนใส่ใจและดูร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดขัดแย้งขึ้นอีกและดูว่าเราจำเป็นต้องปฏิรูปหรือไม่ ซึ่งการปฏิรูปทั้ง 11 ข้อ ตามที่ คสช.ระบุไว้ น่าจะเป็นแนวทางหลักเพื่อแก้ปัญหาอื่นๆ เพราะปัญหาใหญ่เกิดจากปัญหาเล็กๆ ถ้าปัญหาเล็กแข็งแรง ปัญหาใหญ่ก็แก้ได้ง่าย แต่ถ้าเล็กๆ ไม่แข็งแรง ปัญหาใหญ่ก็ตามมา ที่สำคัญคือประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีความสุข

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วันนี้คือปัจจุบันที่จะต้องแก้ไขเพื่ออนาคต ทำเพื่ออนาคตและยังแก้ปัญหาทั้งหมด ตนเข้ามาเพื่อขับเคลื่อนประเทศ บริหารราชการแผ่นดินตามปกติ มีครม.และข้าราชการที่ทำงานตามปกติ ตนใช้มาตรา 44 เพียงอย่างเดียวคือดูแลเรื่องความมั่นคงและออกกฎหมายที่ทำไม่ทัน เพื่อให้ข้าราชการช่วยกันทำงานตามกฎหมายเดิม

"ไม่ใช่ว่าผมเอามาตรา 44 ไปแก้เรื่องหวย เรื่องบ้าบอคอแตก มันไม่ใช่ เดี๋ยวจะให้ผมเอามาตรา 44 ไปแก้ความยากจน มันไม่ใช่ ผมเอามาตรา 44 เป็นเหมือนตัวเร่งไปปลดล็อกเท่านั้น เพราะแต่ละกระทรวงบอกว่าติดกฎหมาย แก้ไขไม่ได้ กฎหมายยังไม่ผ่าน สนช.รออีก 3-4 เดือน ผมต้องใช้มาตรา 44 อย่างลอตเตอรี่หลายคนอยากซื้อในราคา 80 บาท ก็พยายามทำให้ได้ 80 บาท สรุปคงต้องจับหมด ในวงการนี้กว่าล้านคนที่เกี่ยวข้อง ต้นทาง ปลายทาง ขายกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น รวยกันอยู่แค่ตรงกลาง นำส่งคนนั้น คนนี้ก็ให้สอบอยู่ ใครได้อะไรก็ระวังตัวไว้ ผมพูดอย่างนี้เพราะผมมาเป็นนายกฯ วันแรกก็มีคนมาเสนอให้ผมแล้ว ผมบอกมึงไปไกลๆ ไปเข้าระบบโน่น ไม่ต้องมา เอ่ยชื่อได้ ไปให้ใครทุกเดือน อยากรู้ไหม ถ้าอยากรู้ก็ไป ฝันเอา ผมให้ร้ายคนไม่ได้ ต้องดำเนินการตามกฎหมาย" นายกฯ กล่าว

 

ถ้าจะต้องทำประชามติก็เสนอมา

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ทุกวันนี้ต่างประเทศไม่ค่อยถามตนถึงเรื่องประชาธิปไตยแล้ว ถามแค่ว่าประเทศไทยจะค้าขายอะไรกับเขา ตนก็บอกไปว่าทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ไม่ได้เขียนไว้ว่าจะต้องทำประชามติไว้ ถ้าจะทำประชามติ ต้องเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญกันมา ใครจะเสนอแก้ก็พวกแม่น้ำ 3-4 สายนี้เสนอมาที่รัฐบาล และรัฐบาลจะเสนอต่อ สนช. และสนช.จะแก้รัฐธรรมนูญ แต่คงไม่แก้แบบเดิมที่ทำให้ถูกฟ้องร้องกันเหมือนที่ผ่านมา ฉะนั้นถ้าอยากทำก็ไปแก้มา รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้เข้าใจตรงนี้บ้าง

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ถามว่าประเทศไทยจะเริ่มใช้รัฐธรรมนูญเมื่อไร ต้องบอกว่าเมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ลงมา แต่เวลานี้ยังไม่ถึงตอนนั้น เพราะต้องผ่านการพิจารณาหลายขั้นตอน ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นจากหลายส่วน ส่วนการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญนั้น อยู่ที่กมธ.ยกร่างฯ ส่วนคสช. ตนไม่ได้สั่งการแต่อย่างใด และตนไม่สามารถสั่งล้มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ได้ แต่หากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านก็ต้องร่างใหม่ จะทำประชามติหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

นายกฯ กล่าวว่า หากทำก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ วันนี้ถามอยู่ได้ว่าจะทำหรือไม่ อย่างไร อะไรกันนักหนา ถามทุกวันจนตนรู้สึกรำคาญและจะไม่ตอบอีกแล้ว เอาเวลามาคิดเรื่องการบริหารประเทศดีกว่า การเลือกตั้งก็ดี หากเลือกแล้วได้นักการเมืองที่ดีมีจริยธรรม ทุกอย่างก็จบ จะไม่มีการถกเถียงกันอีก วันนี้บางคนบอกว่าไม่ชอบนักการเมืองและไม่อยากเลือกตั้ง แต่ตนคิดว่าทุกคนต้องออกมาเลือกตั้งให้หมด ที่สำคัญอย่าให้นักการเมืองชี้นำเราได้ อย่าไปรับเงินอีก มีอยู่ที่รับเช้า รับบ่าย เพราะจะยากดีมีจนอย่างไร ศักดิ์ศรีของเราก็มีอยู่แล้ว

 

พีระศักดิ์เตือนเสนอแก้ม.308

ที่รัฐสภา นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงสมาชิก สปช.บางส่วนจะขอเสนอแปรญัตติแก้ไขมาตรา 308 หลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ให้จัดทำประชามติ เพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศ 2 ปี ก่อนจัดการเลือกตั้งว่า ต้องระวัง อาจถูกมองว่ามีเจตนาสืบทอดอำนาจให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งนานขึ้นได้ ไม่ควรยื่นแปรญัตติในลักษณะนี้ เรื่องการพิจารณาขยายเวลาโรดแม็ปออกไป เป็นหน้าที่ของ คสช.และครม. จะประเมินสถานการณ์ว่าจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับสปช.และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะสปช.และกมธ.ยกร่างฯ มีหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ และวางแนวทางปฏิรูปประเทศ 

นายพีระศักดิ์กล่าวว่า ส่วนการประชุมสนช. เพื่อรับฟังความเห็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 15 พ.ค.นั้น เบื้องต้นกำหนดประเด็นอภิปรายไว้ 10 ประเด็น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องโครงสร้างทางการเมือง เช่น ที่มานายกฯ ระบบการเลือกตั้งส.ส.และส.ส. สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งจะให้สนช.อภิปรายเต็มที่ ให้เวลาคนละ 7 นาที หากเวลาไม่พอ อาจขยายเวลาให้อภิปรายต่อในวันที่ 16 พ.ค. 

นายพีระศักดิ์กล่าวว่า ความเห็นของสนช.ที่จะเสนอให้กมธ.ยกร่างฯ จะพยายามให้เป็นในแนวทางเดียวกันในทุกประเด็น เพื่อให้เป็นความเห็นในนามสนช. แต่หากประเด็นใดที่สมาชิกสนช.เห็นต่างกัน ไม่สามารถตกลงกันได้ อาจใช้วิธียกมือโหวตในห้องประชุมเพื่อหาข้อสรุป คงไม่ถึงขั้นต้องลงมติเสียบบัตรโหวตกันอย่างเป็นทางการ

 

"ดิเรก"สวนข้อเสนอ"ไพบูลย์"

นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกสปช. ในฐานะรองประธานกมธ.ปฏิรูปการเมือง กล่าวถึงสปช.บางส่วนจะแปรญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 308 หลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ให้จัดทำประชามติ เพื่อให้มีการปฏิรูปประเทศ 2 ปี ก่อนจัดเลือกตั้งว่า ไม่เห็นด้วย ดูแล้วมากเกินไป ทำอะไรให้จบเร็วๆ ไปก็ดี ถ้ายืดเยื้อมากไปจะเป็นที่ครหาได้ ดูแล้วไม่จำเป็นต้องเสียเวลาปฏิรูปมากถึง 2 ปี เพื่อไปปฏิรูปด้านต่างๆ หรือทำกฎหมายลูกให้เสร็จสมบูรณ์ หากร่างรัฐธรรมนูญออกมาให้ดีที่สุดในทีเดียว เป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลก็ต้องมาสานต่อการปฏิรูปอยู่แล้ว 

นายดิเรกกล่าวว่า แต่ถ้ารัฐธรรมนูญไม่เป็นที่ยอมรับ แล้วยังมายืดเวลาอีก 2 ปีเพื่อปฏิรูป และออกกฎหมายลูก จะยิ่งเกิดปัญหาตามมาไม่จบ เลือกตั้งเสร็จก็ขอแก้รัฐธรรมนูญกันอีก จะวุ่นวายกลายเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งนี้ การเสนอให้ปฏิรูปก่อน 2 ปีแล้วเลือกตั้งทำให้คนคิดได้หลายแง่มุม เรื่องนี้คงถกเถียงกันมากพอสมควร เพราะในสปช.มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีสปช.หลายคนอยากอยู่ในตำแหน่งต่อไปนานๆ เพราะแค่บอกว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านในชั้นสปช. ก็ต้องตายตกไปตามกัน สปช.หลายคนก็ปอดกันแล้ว

 

"เต้น"ชี้แม่น้ำ5สายหน้าเริ่มมี"กระ"

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำนปช. กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ว่า พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำทุกวันว่าทำตามโรดแม็ป ไม่สืบทอดอำนาจ แต่คนที่นำมาใช้งานกลับเสนอให้ทำประชามติหลังรัฐธรรมนูญผ่านเพื่อจะอยู่ปฏิรูปอีก 2 ปี หากยังมีความอายอยู่บ้างคงเสนอแบบนี้ไม่ได้ เพราะเป็นการเล่นง่ายกิน 3 ต่อคือ 1.ให้รัฐธรรมนูญผ่านโดยไม่ทำประชามติ 2.เปิดช่องให้ คสช.ต่อท่ออำนาจ และ 3.ถึงผลประชามติออกมาอย่างไร ผู้เสนอมั่นใจได้แล้วว่าจะมีที่นั่งในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และยังมีลุ้นรับตำแหน่งกัน อีกจากการรัฐประหารครั้งต่อไป เพราะรัฐธรรมนูญวางระเบิดเวลาไว้ ที่ผ่านมาหลายครั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จะไวต่อการแสดงความเห็นของคนคิดต่างและออกมาสวนหมัดด้วยตัวเอง แต่ถ้าเรื่องนี้กลับเฉย ปล่อยให้พูดกันไป อาจจะถูกมองได้ว่าส่งม้าใช้มาโยนหินถามทางได้

"เวลาที่นายกฯ พูดว่าไม่สืบทอดอำนาจ ดูหล่อ แต่แม่น้ำ 5 สายมาแบบนี้ก็เหมือนมี กระขึ้นบนหน้า และไม่ใช่กระธรรมดา แต่เป็นกระดี๊กระด๊าอยากมีอำนาจ น่าจะใช้เลเซอร์ลบกระประเภทนี้ออกบ้าง" นายณัฐวุฒิกล่าว

 

พท.ป้องทักษิณปาฐกถาเกาหลี

ด้านนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงฝ่ายความมั่นคงสั่งจับตาความเคลื่อนไหวของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในการไปปาฐกถาพิเศษด้านเศรษฐกิจที่ประเทศเกาหลีใต้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะพูดถึงอนาคตเอเชีย ทิศทางเศรษฐกิจโลก พูดในลักษณะสร้างสรรค์ ไม่ใช่วิพากษ์รัฐธรรมนูญไทย ซึ่งได้รับเชิญไปพูดในฐานะอดีตผู้นำประเทศและผู้นำของเอเชีย ไม่มีการจ้างล็อบบี้ยิสต์เพื่อให้ได้พูดตามที่พยายามเต้าข่าว และขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิง เพราะคนเชิญทราบดีว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอดีตนายกฯ ของประเทศไทย มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี ทำประชาธิปไตยให้กินได้ มีผลงานพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดดที่คนทั้งโลกต้องหันมามองประเทศไทย 

"พ.ต.ท.ทักษิณคงไม่ทำตัวเป็นเด็กๆ หรือเอาชื่อเสียงที่สั่งสมมา มาทิ้งบนเวทีนี้ เพราะถ้าพูดดีก็คงได้รับเสียงชม พูดไม่ดีก็ต้องรับผิดชอบ ไม่ต้องกังวล นี่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวทางการเมือง ถ้าฝ่ายความมั่นคงต้องการติดตามการปาฐกถาก็ติดตามได้ทางช่องทางที่ผู้จัดเตรียมไว้ ไม่ต้องตื่นเต้น ตื่นตระหนก พ.ต.ท.ทักษิณ ไปพูดมาแล้วทั่วโลก คงไม่หาประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ จากการพูดบนเวทีนี้ ขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ พ.ต.ท.ทักษิณ รักประเทศชาติ รักประชาชน จะไม่ใช้อารมณ์ มาทำร้ายประเทศชาติและประชาชนเด็ดขาด" นายอนุสรณ์กล่าว

 

เด็กบิกจิ๋วสวนกลับบิ๊กป๊อก

วันเดียวกัน พล.ท.พิรัช สวามิวัศดุ์ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำตัว พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม ระบุไม่ต้องการให้สื่อมวลชนไปทำข่าววันคล้ายวันเกิด 85 ปี พล.อ.ชวลิต ที่บ้านซอยปิ่นประภาคม ในวันที่ 15 พ.ค. เกรงจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ทางการเมือง หากพล.อ.ชวลิตแถลงข่าวถึงปัญหาความยากจนของเกษตรกรที่รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ว่า สงสัยเป็นอาการตกใจของคน ซึ่งตนไม่รู้ว่าคนที่ไม่เคยรบ ไม่เคยรู้เรื่องการเมือง แล้วจู่ๆ บุญหล่นทับเท้าบวมจะไปรู้เรื่องอะไร ถือเป็นเรื่องลำบากที่จะไปห้ามใครต่อใคร เพราะประเทศนี้มีแต่คนโง่เท่านั้นที่ไม่เข้าใจปัญหาบ้านเมือง

เมื่อถามว่าพล.อ.ชวลิตไม่ได้ติดใจ พล.อ. ประวิตร ใช่หรือไม่ พล.ท.พิรัชกล่าวว่า พล.อ. ชวลิตไม่ได้ว่าอะไร ยังหัวเราะอีกด้วย เพราะถ้าใครถูกพล.อ.ชวลิตด่าหรือว่า ก็รีบๆ ไปบวชได้เลย ถือว่าถึงคราวซวยมาเยือนเต็มที ต้องรีบไปล้างซวย ทั้งนี้ พล.อ.ชวลิตยืนยันจะจัดงานวันเกิดแบบเรียบง่ายธรรมดา เพราะถือว่ายังมีบารมี ผู้คนที่นับถือก็มาอวยพรกันไม่เห็นมีอะไร และก็ไม่ได้ชุมนุมทางการเมือง ใครจะมาใครจะไปก็ไม่ว่ากันเพราะเรามีเจตนาที่บริสุทธิ์ พล.อ.ชวลิตยังฝากบอกด้วยว่าจะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนตามปกติ ไม่ได้แถลงข่าวอย่างที่เข้าใจกัน ฉะนั้นไม่ต้องระแวงให้เกินเหตุ ขอให้สบายใจได้

 

หม่อมอุ๋ยอ้างแค่เซ็นผ่านย้ายปลัด

ที่มณฑลท้องสนามหลวง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวอยู่เบื้องหลังการเสนอปรับโอนนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ว่ามีการเสนอเรื่องผ่านตน ซึ่งแค่เซ็นให้ผ่านก็เท่านั้น เหตุผลข้อเท็จจริงคือก.พ.ร.อยากได้ตัวนายอารีพงศ์ และเป็นการปรับโอนตามความถนัดของงาน

"ข่าวที่ออกมาว่าผม มีคนปล่อย แต่ผมไม่ได้ติดใจ ผมทำหน้าที่ปกติ นายอารีพงศ์มีความเหมาะสมทั้ง 2 ด้าน เพราะเคยทำงานที่ก.พ.ร.มาก่อน และก.พ.ร.ก็ต้องการตัว ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ไม่ได้ว่าอะไร ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งชอบลงพาดหัวหวือหวากับผมเสมอ แต่กับทหารไม่กล้าเลย บอกเขาด้วย" ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว เมื่อถามว่าหลังจากนี้จะปรับครม.ด้านเศรษฐกิจหรือไม่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่าไม่มีเลย ครม.เศรษฐกิจไม่ต้องปรับ เหมือนเดิม

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เปิดเผยว่า ได้ส่งความเห็นขอแก้ไขเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญให้กับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เรียบร้อยแล้ว

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกฯด้านสังคมกล่าวว่า ในส่วนกระทรวงด้านสังคมที่ตนดูแล ได้ส่งความเห็นไปยังนายวิษณุแล้ว เช่น มาตรา 84 ที่พูดถึงเรื่องการศึกษานั้น อยากให้มีเนื้อหาที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การวิจัยพัฒนาเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังอยากให้เพิ่มเนื้อหาสวัสดิภาพของเด็กและสตรีเข้าไปในรัฐธรรมนูญให้มากขึ้นอีกด้วย ส่วนเรื่องอื่นๆ คงมีการพูดคุยกันในการประชุมแม่น้ำทั้ง 5 สาย

 

ส่งสนช.ถอดถอด 250ส.ส.-15 พค.

นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมของประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ประธานคณะกรรมการป.ป.ช. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) กรณีสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) ให้หน่วยงานรัฐทำ ข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลในส่วนของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ที่ประชุมได้สรุปประเด็นเสนอความเห็นมายังรัฐบาลในวันที่ 14 พ.ค.นี้ โดยสรุปความเห็นที่เห็นพ้องกันได้ประเด็นเดียวคือ การตั้งกรรมการสรรหา ซึ่งเห็นว่าควรใช้กรรมการสรรหาแบบเดิม ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เพราะหากมีกรรมการสรรหาจำนวนมาก อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ 

นายปานเทพกล่าวว่า ข้อเสนอแนะต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในส่วนของป.ป.ช. ยังคงขอให้เป็นองค์กรอิสระ และเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินคดีทุจริต ทั้งนี้ หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตั้งหน่วยงานตรวจสอบการทุจริต อาจจะทับซ้อนงานป.ป.ช. แต่ต้องรอรัฐธรรมนูญใหม่และต้องรอดูเนื้อหาแต่พยายามประสานงานกันให้ได้ต่อไป 

นายปานเทพกล่าวถึงกรณีป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 250 อดีตส.ส. ปมแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว. ว่าสำนักงานป.ป.ช.เตรียมส่งเรื่อง ดังกล่าวไปยังสนช. ในวันที่ 15 พ.ค.นี้ เพื่อให้ดำเนินการพิจารณาถอดถอนต่อไป

 

เล็งใช้"สธ.-พณ."คุมค่าพยาบาล

วันที่ 13 พ.ค. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านสังคม ให้สัมภาษณ์กรณีเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการควบคุมราคาโรงพยาบาลเอกชน เนื่องจากมีค่ารักษาที่แพงเกินจริงว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลของฝ่ายต่างๆ ทั้งฝ่ายที่บอกว่าค่ารักษาพยาบาลแพงเกินจริง และฝ่ายที่บอกว่าคิดค่ารักษาตามหลักเกณฑ์ ซึ่งรัฐบาลต้องรวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่ายแล้วพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยจะให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาวิธีการรักษา ควบคู่กับกระทรวงพาณิชย์จะมาดูเรื่องราคาค่ารักษา เพื่อให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยนายกฯ กำชับให้ดูแลในเรื่องนี้ 

รองนายกฯ กล่าวว่า ข้อเสนอให้มีคณะกรรมการควบคุมราคาฯ ถือว่าน่าสนใจ ต้องดูในแง่มุมต่างๆ ทั้งความเป็นธรรมกับผู้บริโภค และต้นทุนของโรงพยาบาล ทั้งนี้ หากจะมี คณะกรรมการใดๆ เกิดขึ้น ควรดูเรื่องนโยบายการตั้งราคาค่ารักษาพยาบาลเป็นหลัก ที่สำคัญต้องไม่ปิดกั้นการพัฒนาระบบการรักษาของโรงพยาบาลเอกชน ส่วนที่เรียกร้องให้ใช้ มาตรา 44 ยุบคณะกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบัน เพราะสงสัยว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้ ไม่เกิดการพัฒนาในวงการการแพทย์นั้น ขอดูข้อมูลให้ชัดเจนก่อน ยังบอกไม่ได้ว่าจะตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบหรือไม่ 

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า จากการรับเรื่องร้องเรียน ผ่านเครือข่าย 13 ปีที่ผ่านมา เรื่องค่ารักษาพยาบาลแพงนั้นมีหน่วยงานดูแลกระจัดกระจาย เช่น ค่าแพทย์มีแพทยสภาดูแล ค่ายา ค่ารักษา มีกรมการค้าภายในดูแล จึงอยากให้ตั้งกรรมการกลางดูแลเรื่องนี้โดยตรง ประกอบด้วยหลายภาคส่วน อาทิ นักวิชาการ กลุ่มงานที่ศึกษาเรื่องระบบยา แพทย์ ส่วนภาคประชาชนจะขอเป็นเพียง ผู้สังเกตการณ์ ขอให้วิงวอนให้เร่งจัดตั้งภายใน 1 เดือน โดยมีกฎหมายรองรับ มีบทลงโทษชัดเจนซึ่งจะออกเป็นกฎหมายใหม่ หรือแก้ไขกฎหมายเดิมก็ได้

 

ปปช.จ่อตั้งอนุฯสอบสกสค.

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ที่สนามหลวง นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีไต่สวนข้อเท็จจริงปัญหาเรื่องสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.) นำเงินไปลงทุนโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี วงเงิน 2.1 พันล้านบาทว่า เจ้าหน้าที่ได้เตรียมเสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช. ในวันที่ 14 พ.ค. เพื่อพิจารณาว่าจะตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงหรือไม่ หากพิจารณาแล้วมีข้อเท็จจริง พยานหลักฐานเพียงพอ คณะกรรมการป.ป.ช.สามารถตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องดังกล่าวได้ 

นายปานเทพกล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีนายปรีชา เลิศกมลมาศ และนายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบสำนวน หากตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นทั้ง 2 คนจะต้องเป็นประธานอนุกรรมการ อย่างไรก็ตาม แนวทางการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ต้องดูพยานหลักฐานเชื่อมโยงแหล่งที่มาทั้งหมด